ประสบการณ์การเดินทางเข้าฝึกที่ประเทศญี่ปุ่น

การเดินทางไปฝึกในครั้งนี้เป็นการเดินทางไปฝึกที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกของผู้เขียน  จุดประสงค์ในการเดินทางครั้งนี้เพื่อเป็นการมาฝึกซ้อมกับเจ้าสำนักโรงฝึกบูจินกัน บูโด ไทจัสสุ อ.มาซาอะกิ ฮะทสึมิ (Soke Masaaki Hatsumi) และอ.ชิราอิชิ อิซามุ(shiraishi Isamu sansei) ซึ่งเป็นอาจารย์สายหลักที่โรงฝึกบูจินกัน ประเทศไทย (Bujinkan Thailand) นำมาเป็นแนวทางในการฝึกสอน  การเดินทางมาฝึกครั้งนี้มีโอกาสได้เข้าฝึกกับ อ.มาซาอะกิ 

Continue reading »

ความคาดหวังในการฝึก

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผู้เขียน มีผู้ที่เข้ามาฝึกหลายคน เข้ามาฝึกพร้อมกับคาดหวังผลของการฝึกไว้สุงมาก คิดว่าถ้าเข้ามาฝึกบูจินกันแล้ว จะสามารถเก่งได้ทันทีโดยใช้เวลาไม่นาน เพราะมั่นใจในความสามารถของตัวเองว่ามีไม่น้อยกว่าใครๆ ในความเป็นจริงแล้ว บูจินกันเป็นวิชาศิลปะต่อสู้ที่ต้องใช้เวลาในการฝึกต่อเนื่อง สม่ำเสมอเป็นเวลานาน กว่าที่จะเข้าใจถึงหลักการและเทคนิคต่างๆ และความเข้าใจที่เกิดขึ้นนั้น ก็อาจจะเปลี่ยนไปตามระดับความสามารถของผู้ฝึกอีกด้วย เช่น ในการฝึกเทคนิคพื้นฐานง่ายๆ ขณะที่เราเข้ามาฝึกใหม่ๆ เราก็มักจะคิดว่าเราเข้าใจเทคนิคนั้นแล้ว เราสามารถทำตามที่อาจารย์สอนได้แล้ว เพราะเราสามารถทำได้เหมือนกับที่อาจารย์แสดงให้ดูทุกอย่าง แต่พอเราฝึกไปนานๆ ประสบการณ์ในการฝึกมากขึ้น

Continue reading »

คะมะเอะ (構え Kamae)

คะมะเอะ (構え Kamae) หรือการตั้งท่าในการต่อสู้ นั้นถือได้ว่าเป็นพื้นฐานที่จำเป็น และสำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งในการฝึกจะเห็นได้ว่าผู้ฝึกเริ่มต้น หลังจากฝึกอุเคมิ (ม้วนหน้า ม้วนหลัง การเซฟตัวเอง) แล้ว พื้นฐานต่อไปที่ฝึกก็คือ การฝึกคะมะเอะหรือท่ายืนนั้นเอง ซึ่งไม่ไช่แต่การฝึกของผู้ฝึกเริ่มต้นเท่านั้น การฝึกทั่วไปโดยปกติก็จะมีการฝึกของคะมะเอะอยู่เสมอ ๆ ด้วย ทำไมคะมะเอะจึงมีความสำคัญ? ทำไมถึงบอกว่าเป็นรากฐานของฝึกที่ขาดไม่ได้? ก็เพราะว่าคะมะเอะนั้นเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้ฝึกนั้นได้รับรู้ถึงสรีระ

Continue reading »

เป้าหมาย- สิ่งที่ควรมีเมื่อเข้ารับการฝึก

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ ได้พบเห็นคนที่สนใจเข้ารับการฝึกเป็นจำนวนมาก แต่จนถึง ณ ปัจจุบัน จำนวนผู้ที่ยังคงเข้ารับการฝึกอยู่นั้นกลับยังมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนโดยรวม “หลายคนเข้ารับการฝึกเพียงไม่กี่ครั้ง” “หลายคนเข้ารับการฝึกนานพอสมควร นานพอที่จะทราบได้ว่าเป็นวิชาที่ตนชอบหรือไม่” “หลายคนเข้ารับการฝึกจนได้สายดำก็มี” ที่กล่าวมานี้ทุกคนมีโอกาสเลิกฝึกเท่ากันหมด นั้นเป็นเพราะแต่ละคนขาดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย หลายคนเมื่อเริ่มต้นเข้ารับการฝึกอาจจะไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแต่หากเริ่มต้นฝึกแล้วนั้น ทุกคนควรมีเป้าหมาย มีหลายคนที่เข้ารับการฝึกจนได้ระดับสายดำแล้วเลิกฝึกไปเพราะขาดเป้าหมายยิ่งเป็นที่น่าเสียดายอย่างมากกับเวลาที่เราได้รับการฝึกไป หากเปรียบเทียบกับบริษัทก็คงเสียงบประมาณในการอบรมไปพอสมควร สำหรับการวางเป้าหมายสำหรับการเข้ารับการฝึกนั้น ง่าย ๆ โดยเฉพาะเข้ารับการฝึกกับโรงฝึกบูจินกันประเทศไทย

Continue reading »

Training Trip in japan – ความเข้าใจที่ถูกต้อง

เล่าเรื่องต่อจาก ตอนที่1 ในบล๊อค http://start-practice.blogspot.jp/ เริ่มต้นบทความนี้ด้วยการไปฝึกที่ ญี่ปุ่นนั้นไม่สบายอย่างที่คิด สามารถพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า เหนื่อย ก่อนหน้านี้เคยคิดว่าการที่ อาจารย์ไปเข้ารับการฝึกนั้นสบาย แต่จากที่ได้ไปปรากฏว่าผิดคาด ตัวอย่างเช่นการเดินทางไปฝึกที่ Kashiwa ถ้าจำไม่ผิดนั่งรถไฟไปใช้เวลาเกือบชั่วโมง แล้วยังต้องเดินต่อเพื่อเข้าไปที่สถานะที่ฝึกอีกเกือบชั่วโมง ดังนั้นความคิดเปลี่ยนทันทีว่า กว่าอาจารย์จะได้รับสายดำระดับสูงขนาดนี้ ต้องเดินทางเท่าไหร่ไม่ใช่สบายอย่างที่คิด นี้คือความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างแรก สิ่งต่อไปที่อยากจะแชร์คือ การฝึกวันแรกที่โรงฝึกใหญ่

Continue reading »

วัฒนธรรมและประเพณีในโรงฝึกบูจินกัน

วัฒนธรรมและประเพณีเป็นสิ่งที่สำคัญต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง วัฒนธรรมนั้นหมายถึงคุณค่าที่คนในสังคมนั้นๆ มองกัน ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ถูก และอะไรเป็นส่ิงที่ผิด ส่วนประเพณีหมายถึงธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบต่อกันมาช้านาน การฝึกในโรงฝึกบูจินกันนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่การถ่ายทอดทักษะการต่อสู้ แต่จะมีการถ่ายทอดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามด้วย ผู้เข้าฝึกทุกคนควรจะรับเอาทั้งทักษะการต่อสู้และวัฒนธรรมประเพณีของบูจินกันเอาไว้ พอพูดแบบนี้หลายคนคงเห็นว่าผมเป็นคนหัวโบราณ ไม่รู้ว่าโลกปัจจุบันก้าวหน้าไปถึงไหนกันแล้ว ดังนั้นผมจะขอเล่าภูมิหลังสั้นๆของผมหน่อยนะครับ ผมได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศแคนนาดาเป็นเวลาประมาณ 5 ปี ผมได้สัมผัสชีวิตตะวันตกและได้รับรู้ถึงวัฒนธรรมตะวันตกมาพอสมควร วันนี้ผมจะขอนำประสพการณ์บางส่วนมาเล่าให้ฟัง ชาวตะวันตกนั้น มักจะมุ่งเน้นความเป็นกันเอง ไม่มีลำดับชั้น

Continue reading »

เรื่องของการล้ม: อุเคะมิ (ukemi)

อุเคะมิ (ukemi) คือ อะไร? อุเคะมิ อยู่ในรูปแบบการฝึกพื้นฐานของบูจินกัน โดยที่มีลักษณะเป็นการฝึกฝนการควบคุมร่างกายตนเอง ฝึกความยืดหยุ่นและความสมดุลให้กับร่างกาย ซึ่งมีจุดประสงค์โดยทั่วไปเพื่อให้ ผู้ฝึกศิลปะการต่อสู้ฝึกการป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดอันตรายขึ้นในขณะทำการฝึกกับคู่ฝึก รวมทั้งการป้องกันตัวเองเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน   เราสามารถอธิบายถึงอุเคะมิ ได้ว่าเป็นการรักษาสมดุลของร่างกายในทุกขณะของการเคลื่อนที่ ในการฝึกอุเคะมินั้นทุกคนจะต้องหา จุดสมดุลของการทรงตัวในจังหวะต่างๆของตนเองให้ได้ เพื่อที่จะสามารถ ล้มได้อย่างถูกต้องในระหว่างการฝึก ซึ่งจะส่งผลให้อันตรายที่เกิดจากการฝึกซ้อมนั้นลดลงไปด้วย นอกจากการลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุแล้ว

Continue reading »

ความรู้เกี่ยวกับคะมิดะนะ

“ชิคิน ฮะระมิสึ ไดโกะเมียว” คำกล่าวที่เราได้ยินทุกครั้งก่อนและหลังฝึกโดยปกติแล้วก่อนทำการฝึกและหลังการฝึกสิ่งหนึ่งที่เราทำอย่างสม่ำเสมอคือการเคารพคะมิดะนะ ถึงแม้การเคารพคะมิดะนะอาจจะไม่ใช่หัวใจสำคัญของการฝึก แต่ก็ถือเป็นการแสดงความเคารพต่ออาจารย์ และเป็นการเรียนรู้วัฒนธรรม ดังนั้นสิ่งเหล่านี้เราจึงควรปฏิบัติให้ถูกต้อง “คะมิดะนะ” ถ้าดูความหมายตามคำศัพท์หมายถึง หิ้งบูชาเทพเจ้า (คะมิ=เทพเจ้า, ดะนะ=หิ้ง) โดยทั่วไปคะมิดะนะเป็นแท่นบูชาขนาดเล็กที่ใช้ในบ้านเรือน มักพบในโรงฝึกศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่น ใช้เป็นที่ประดิษฐานของเทพเจ้าตามความเชื่อแบบของชินโต ที่เชื่อว่าทุกสิ่งมีเทพเจ้าสิงสถิตอยู่ โดยเทพเจ้าที่อันเชิญมาประดิษฐานก็จะเป็นเทพเจ้าที่ส่งผลเกื้อหนุนในกิจการที่ทำอยู่ ปกติคะมิดะนะจะติดตั้งไว้บนผนังตำแหน่งที่สูงกว่าระดับสายตา โดยเลือกพื้นที่ที่สะอาด

Continue reading »

Taijutsu ศิลปะการใช้ร่างกาย

  Taijutsu ไทจุสสุ หมายถึง ศิลปะการใช้ร่างกาย หลายคนอาจรู้ความหมายแต่เข้าใจหรือไม่เป็นอีกส่วนหนึ่ง ก่อนหน้านี้ผมเคยเข้าใจคำว่า Taijutsu ตามคำจำกัดความหรือคำแปล คือศิลปะการใช้ร่างกาย แบ่งออกย่อย ๆ เป็น 3 ส่วน Dakentaijutsu ศิลปะการต่อสู้ด้วยการจู่โจมหรือศิลปะการต่อสู้วงนอก Jutaijutsu ศิลปะการต่อสู้วงใน Taihenjutsu

Continue reading »

ความผูกพันกันระหว่างโทริกับอุเคะ

ในการฝึกซ้อมศิลปะการต่อสู้หรือป้องกันตัวไม่ว่าจะประเภทใดก็ตามสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการเข้าคู่เพื่อฝึกซ้อม  โดยในการเข้าคู่นั้นจะประกอบไปด้วย ผู้กระทำ(โทริ Tori) และผู้ถูกกระทำ(อุเคะ Uke)   ในการฝึกซ้อมทั้งโทริและอุเคะจะต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ฝั่งโทริจะต้องรับรู้ความรู้สึกว่าแต่ละจังหวะที่ทำนั้นทำให้อุเคะขยับตัวไปทางไหน  ใช่ลักษณะเดียวกันกับที่อาจารย์ทำหรือไม่ แรงที่กระทำนั้นมากหรือน้อยเกินไปหรือไม่  แรงนั้นทำให้อุเคะบาดเจ็บหรือไม่  ส่วนอุเคะก็จะต้องเรียนรู้จากโทริโดยดูว่าแรงที่ส่งผ่านมานั้นทำให้ร่างกายเราขยับอย่างไรแล้วเสียสมดุลมากน้อยขนาดไหน  อีกอย่างที่สำคัญสำหรับการเป็นอุเคะคือพยายามอย่างกลัวการกระทำจากโทริมากเกินไป ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการพัฒนาทักษะนั้นๆทั้งของตัวอุเคะและโทริเอง จากประสบการณ์ของผู้เขียนเองนั้นพบทั้งโทริและอุเคะในหลายรูปแบบ ทั้งกลัวเกินไปและใช้แรงมากเกินไปหรือบางครั้งก็ซักถามมากเกินไป โดยจะแตกต่างกันไปตามระดับและระยะเวลาในการฝึก เช่น ในผู้ฝึกระดับเริ่มต้นนั้นมักจะไม่ใส่ใจในการเป็นอุเคะ มีการซักถามที่มากเกินไปและกลัวในการเป็นอุเคะมากเกินไป 

Continue reading »