แนวทางการฝึกฝนตัวเองจากญี่ปุ่น

ทำไมต้องเดินทางมาฝึกบูจินกันที่ประเทศญี่ปุ่น เก่งขึ้นหรือเปล่า? คำตอบที่ง่ายที่สุด น่าจะเป็นการฝึกฝนให้ฝีมือเราดีขึ้น การฝึกศิลปะต่อสู้นั้นจะต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง สายดำระดับหนึ่งในบูจินกันนั้นเรียกว่า shodan ซึ่งมีความหมายว่า “ขั้นเริ่มต้น” ดังนั้นการได้รับสายดำระดับหนึ่งมิได้หมายความว่าเราเรียนจบแล้ว เรายังจะต้องพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง หากจุดประสงค์ในการฝึกของคุณคือการได้มาซึ่งสายดำ และคุณรู้สึกพอใจเพียงแค่นั้น ฝีมือของคุณจะหยุดนิ่งอยู่กับที่ ในขณะที่ผู้ที่ฝึกหลังจากคุณอาจจะพัฒนาตัวเองจนแซงหน้าคุณไปในที่สุด หลายคนที่ฝึกมาระยะหนึ่งอาจรู้สึกว่าได้พัฒนาตัวเองจนเกือบสุดทางแล้ว และเริ่มมองหาแหล่งความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตัวเองขึ้นไปอีก พวกเขาจะเดินทางไปฝึกบูจินกันที่ประเทศญี่ปุ่นกับอาจารย์ที่มีฝีมือสูงมากๆ เพื่อที่จะพัฒนาฝีมือของตัวเองให้สูงขึ้นไปอีก

Continue reading »

เรื่องของระดับชั้น (Ranking)

  นี่คือความเห็นของผมเกี่ยวกับระดับสายในบูจินกัน อาจารย์มะซะอะกิ อยู่เหนือแนวคิดเรื่องระดับสายที่ไร้ค่า ท่านได้พูดถึงเรื่องสายในแบบของกีฬา และ ศิลปะต่อสู้หลายครั้งในหลายปีที่ผ่านมา ในบูจินกันมีมีแนวคิดที่เรียกว่า ซากิสุเคะ (Sakizuke) ซึ่งเป็นแนวทางที่ อ.มะซะอะกิ ได้รับสายสืบต่อมาจาก อ.ทะกะมะสึ ผมคิดว่า อ.มะซะอะกิให้ความเคารพ อ.ทะกะมะสึ และ ตัววิชาเป็นอย่างมาก ทำให้ท่านเข้าใจถึงสิ่งที่ อ.ทะกะมะสึ และตัววิชาต้องการจากท่านเป็นอย่างดี

Continue reading »

ประสบการณ์การเดินทาง ไปฝึกที่ญี่ปุ่นครั้งแรกของผม

สำหรับตัวผมแล้ว แม้ว่าจะเคยเดินทางไปต่างประเทศมาบ้าง แต่ครั้งนี้ผมยอมรับว่าผมตื่นเต้นเป็นพิเศษ เพราะสำหรับการเดินทางครั้งนี้ของผมไม่ได้มีจุดประสงค์เพียงเพื่อไปเที่ยว แต่เป็นการเดินทางเพื่อไปฝึกฝนตัวเองและเก็บเกี่ยวประสบการณ์และความรู้ใหม่จากการฝึกศิลปะการต่อสู้ บูจินกัน บูโด ไทจุสสุ ในวันแรกของการฝึกที่ Hombu Dojo (ฮอมบูโดโจ) ซึ่งวันนี้เป็นการสอนของ“อาจารย์ ชิราอิชิ”เมื่อเข้าไปในโรงฝึกผมเห็นชาวต่างชาติมากมาย บางส่วนกำลังเปลี่ยนชุดฝึกบางส่วนเริ่มจับคู่ฝึกซ้อมกันเป็นการยือเส้นยืดสายเพื่อเตรียมรับการสอนจากอาจารย์ แต่สิ่งที่ทำให้ผมประทับใจและคลายความวิตกกังวลคือ ทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใสคำนับและกล่าวทักทายกันอย่างเป็นมิตรไม่ว่าใครจะมาจากประเทศอะไรเมื่อเข้ามาในโรงฝึกก็จะโค้งคำนับทักทายกันทำให้ผมได้รู้จักกับเพื่อนใหม่ 2 คนคือ เคจจากแคนาดาและ

Continue reading »

ความเชื่อมั่น และความมั่นใจ

อาจารย์มะซะอะกิเคยพูดไว้ว่า “ การเลือกอาจารย์ผู้สอน เป็นหน้าที่ของผู้เรียน “ ในการฝึกศิลปะการต่อสู้ การเลือกวิชาที่จะฝึกนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ มีวิชาเกิดขึ้นใหม่ๆมากมาย โดยบางวิชาไม่มีที่มาที่ไป บางวิชาก็ตั้งชื่อขึ้นมาเอง บางครั้งก็เอาวิชาหลายๆอย่างมารวมกันแล้วก็นำไปสอนผู้อื่น  ผู้ที่สนใจควรศึกษาข้อมูลต่างๆให้เข้าใจเสียก่อน โดยปกติแล้ววิชาศิลปะต่อสู้ทุกวิชา จะมีประวัติสืบทอดกันมายาวนาน และสามารถหาข้อมูลได้ สมัยปัจจุบันก็จะมีข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตให้ศึกษาเป็นจำนวนมาก และ ปรกติประวัติของวิชาต่างๆจะไม่เป็นความลับอยู่แล้ว จากการพูดคุยกับหลายๆคน

Continue reading »