ความเชื่อมั่น และความมั่นใจ

อาจารย์มะซะอะกิเคยพูดไว้ว่า “ การเลือกอาจารย์ผู้สอน เป็นหน้าที่ของผู้เรียน “ ในการฝึกศิลปะการต่อสู้ การเลือกวิชาที่จะฝึกนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ มีวิชาเกิดขึ้นใหม่ๆมากมาย โดยบางวิชาไม่มีที่มาที่ไป บางวิชาก็ตั้งชื่อขึ้นมาเอง บางครั้งก็เอาวิชาหลายๆอย่างมารวมกันแล้วก็นำไปสอนผู้อื่น  ผู้ที่สนใจควรศึกษาข้อมูลต่างๆให้เข้าใจเสียก่อน โดยปกติแล้ววิชาศิลปะต่อสู้ทุกวิชา จะมีประวัติสืบทอดกันมายาวนาน และสามารถหาข้อมูลได้ สมัยปัจจุบันก็จะมีข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตให้ศึกษาเป็นจำนวนมาก และ ปรกติประวัติของวิชาต่างๆจะไม่เป็นความลับอยู่แล้ว จากการพูดคุยกับหลายๆคน

Continue reading »

วัฒนธรรมและประเพณีในโรงฝึกบูจินกัน

วัฒนธรรมและประเพณีเป็นสิ่งที่สำคัญต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง วัฒนธรรมนั้นหมายถึงคุณค่าที่คนในสังคมนั้นๆ มองกัน ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ถูก และอะไรเป็นส่ิงที่ผิด ส่วนประเพณีหมายถึงธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบต่อกันมาช้านาน การฝึกในโรงฝึกบูจินกันนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่การถ่ายทอดทักษะการต่อสู้ แต่จะมีการถ่ายทอดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามด้วย ผู้เข้าฝึกทุกคนควรจะรับเอาทั้งทักษะการต่อสู้และวัฒนธรรมประเพณีของบูจินกันเอาไว้ พอพูดแบบนี้หลายคนคงเห็นว่าผมเป็นคนหัวโบราณ ไม่รู้ว่าโลกปัจจุบันก้าวหน้าไปถึงไหนกันแล้ว ดังนั้นผมจะขอเล่าภูมิหลังสั้นๆของผมหน่อยนะครับ ผมได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศแคนนาดาเป็นเวลาประมาณ 5 ปี ผมได้สัมผัสชีวิตตะวันตกและได้รับรู้ถึงวัฒนธรรมตะวันตกมาพอสมควร วันนี้ผมจะขอนำประสพการณ์บางส่วนมาเล่าให้ฟัง ชาวตะวันตกนั้น มักจะมุ่งเน้นความเป็นกันเอง ไม่มีลำดับชั้น

Continue reading »

เรื่องของการล้ม: อุเคะมิ (ukemi)

อุเคะมิ (ukemi) คือ อะไร? อุเคะมิ อยู่ในรูปแบบการฝึกพื้นฐานของบูจินกัน โดยที่มีลักษณะเป็นการฝึกฝนการควบคุมร่างกายตนเอง ฝึกความยืดหยุ่นและความสมดุลให้กับร่างกาย ซึ่งมีจุดประสงค์โดยทั่วไปเพื่อให้ ผู้ฝึกศิลปะการต่อสู้ฝึกการป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดอันตรายขึ้นในขณะทำการฝึกกับคู่ฝึก รวมทั้งการป้องกันตัวเองเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน   เราสามารถอธิบายถึงอุเคะมิ ได้ว่าเป็นการรักษาสมดุลของร่างกายในทุกขณะของการเคลื่อนที่ ในการฝึกอุเคะมินั้นทุกคนจะต้องหา จุดสมดุลของการทรงตัวในจังหวะต่างๆของตนเองให้ได้ เพื่อที่จะสามารถ ล้มได้อย่างถูกต้องในระหว่างการฝึก ซึ่งจะส่งผลให้อันตรายที่เกิดจากการฝึกซ้อมนั้นลดลงไปด้วย นอกจากการลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุแล้ว

Continue reading »

ความรู้เกี่ยวกับคะมิดะนะ

“ชิคิน ฮะระมิสึ ไดโกะเมียว” คำกล่าวที่เราได้ยินทุกครั้งก่อนและหลังฝึกโดยปกติแล้วก่อนทำการฝึกและหลังการฝึกสิ่งหนึ่งที่เราทำอย่างสม่ำเสมอคือการเคารพคะมิดะนะ ถึงแม้การเคารพคะมิดะนะอาจจะไม่ใช่หัวใจสำคัญของการฝึก แต่ก็ถือเป็นการแสดงความเคารพต่ออาจารย์ และเป็นการเรียนรู้วัฒนธรรม ดังนั้นสิ่งเหล่านี้เราจึงควรปฏิบัติให้ถูกต้อง “คะมิดะนะ” ถ้าดูความหมายตามคำศัพท์หมายถึง หิ้งบูชาเทพเจ้า (คะมิ=เทพเจ้า, ดะนะ=หิ้ง) โดยทั่วไปคะมิดะนะเป็นแท่นบูชาขนาดเล็กที่ใช้ในบ้านเรือน มักพบในโรงฝึกศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่น ใช้เป็นที่ประดิษฐานของเทพเจ้าตามความเชื่อแบบของชินโต ที่เชื่อว่าทุกสิ่งมีเทพเจ้าสิงสถิตอยู่ โดยเทพเจ้าที่อันเชิญมาประดิษฐานก็จะเป็นเทพเจ้าที่ส่งผลเกื้อหนุนในกิจการที่ทำอยู่ ปกติคะมิดะนะจะติดตั้งไว้บนผนังตำแหน่งที่สูงกว่าระดับสายตา โดยเลือกพื้นที่ที่สะอาด

Continue reading »

Taijutsu ศิลปะการใช้ร่างกาย

  Taijutsu ไทจุสสุ หมายถึง ศิลปะการใช้ร่างกาย หลายคนอาจรู้ความหมายแต่เข้าใจหรือไม่เป็นอีกส่วนหนึ่ง ก่อนหน้านี้ผมเคยเข้าใจคำว่า Taijutsu ตามคำจำกัดความหรือคำแปล คือศิลปะการใช้ร่างกาย แบ่งออกย่อย ๆ เป็น 3 ส่วน Dakentaijutsu ศิลปะการต่อสู้ด้วยการจู่โจมหรือศิลปะการต่อสู้วงนอก Jutaijutsu ศิลปะการต่อสู้วงใน Taihenjutsu

Continue reading »

สำหรับผู้ฝึกใหม่เมื่อฝึกเข้าคู่

การฝึกฝนศิลปะการต่อสู้หลายๆชนิดรวมถึงการฝึกของบูจินกันนั้น ผู้ฝึกจำเป็นที่จะต้องเข้าคู่เพื่อฝึกฝน และทำความเข้าใจเทคนิคต่างๆโดยอาศัยร่างกายของคู่ซ้อมเพื่อศึกษา ในการเข้าซ้อมเป็นคู่นั้นการรู้และเข้าใจถึงระดับของคู่ฝึกด้วยกันกับเรานั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้เราตัดสินใจใช้เทคนิคหรือท่าต่างๆได้เหมาะสมกับคู่ซ้อม โดยที่ท่าที่เราใช้นั้นมักจะเป็นท่าที่มีความแรงพอเหมาะกับระดับคู่ที่ซ้อมกับเราและไม่เร็วจนเกินไปจนอาจก่อให้เกิดอันตราย โดยปกติ ผู้ฝึกใหม่ระดับสายขาวมักจะถูกจับคู่กับผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เทคนิคที่ไม่เหมาะสม และ การที่ไม่สามารถควบคุมแรงที่ใช้ในการฝึกได้  สิ่งที่ผู้ฝึกใหม่ในระดับสายขาวควรทำเมื่อฝึกเข้าคู่ก็คือ การทำตามท่าที่อาจารย์ผู้ฝึกสอนกำหนดให้ แต่ในหลายครั้งเนื่องจากผู้ฝึกใหม่ยังไม่มีประสบการณ์การที่มากพอจึงทำให้ไม่สามารถดูและทำตามท่าที่อาจารย์ผู้สอนทำได้ ในการฝึกซ้อมเข้าคู่ ผู้ฝึกระดับสายขาวจึงควรให้ผู้ฝึกที่มีประสบการณ์มากกว่าเป็นฝ่ายทำท่าต่างๆก่อน เพื่อที่ตนเองจะได้สังเกตุเทคนิคที่จะทำการฝึกอีกครั้ง และนอกจากนั้นการที่ให้ผู้ฝึกที่มีประสบการณ์มากกว่าเป็นฝ่ายกระทำเทคนิคต่างๆก่อนยังเป็นการแสดงถึงความเคารพต่อผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่าด้วย ผู้ที่เริ่มฝึกใหม่มักมีคำถามขึ้นมากมายในระหว่างการทำเทคนิคต่างๆ ซึ่งในหลายๆครั้งก็เป็นคำถามที่มากเกินไปกว่าที่ระดับของตนจะเข้าใจได้

Continue reading »

ความผูกพันกันระหว่างโทริกับอุเคะ

ในการฝึกซ้อมศิลปะการต่อสู้หรือป้องกันตัวไม่ว่าจะประเภทใดก็ตามสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการเข้าคู่เพื่อฝึกซ้อม  โดยในการเข้าคู่นั้นจะประกอบไปด้วย ผู้กระทำ(โทริ Tori) และผู้ถูกกระทำ(อุเคะ Uke)   ในการฝึกซ้อมทั้งโทริและอุเคะจะต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ฝั่งโทริจะต้องรับรู้ความรู้สึกว่าแต่ละจังหวะที่ทำนั้นทำให้อุเคะขยับตัวไปทางไหน  ใช่ลักษณะเดียวกันกับที่อาจารย์ทำหรือไม่ แรงที่กระทำนั้นมากหรือน้อยเกินไปหรือไม่  แรงนั้นทำให้อุเคะบาดเจ็บหรือไม่  ส่วนอุเคะก็จะต้องเรียนรู้จากโทริโดยดูว่าแรงที่ส่งผ่านมานั้นทำให้ร่างกายเราขยับอย่างไรแล้วเสียสมดุลมากน้อยขนาดไหน  อีกอย่างที่สำคัญสำหรับการเป็นอุเคะคือพยายามอย่างกลัวการกระทำจากโทริมากเกินไป ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการพัฒนาทักษะนั้นๆทั้งของตัวอุเคะและโทริเอง จากประสบการณ์ของผู้เขียนเองนั้นพบทั้งโทริและอุเคะในหลายรูปแบบ ทั้งกลัวเกินไปและใช้แรงมากเกินไปหรือบางครั้งก็ซักถามมากเกินไป โดยจะแตกต่างกันไปตามระดับและระยะเวลาในการฝึก เช่น ในผู้ฝึกระดับเริ่มต้นนั้นมักจะไม่ใส่ใจในการเป็นอุเคะ มีการซักถามที่มากเกินไปและกลัวในการเป็นอุเคะมากเกินไป 

Continue reading »

Senpai blog คืออะไร

คำว่า Senpai (อ่านว่า เซ็มไป) มีความหมายถึงรุ่นพี่ในภาษาญี่ปุ่น Blog นี้มีจุดประสงค์ ที่จะแชร์มุมมองและความรู้ของผู้ฝึกรุ่นพี่ ในวิชาบูจินกัน บูโด ไทจุสสุ จากโรงฝึกบูจินกันประเทศไทย ให้กับรุ่นน้อง และ บุคคลทั่วไป

Continue reading »