เมื่อถึงเวลา…คุณจะเข้าใจ

หากมองแบบผิวเผินแล้ว การฝึกบูจินกันหลายๆครั้งจะดูเหมือนกัน ท่าที่ฝึกก็เป็นท่าเดิมๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับการจู่โจม หรือ ukemi ท่ายืน ท่าพื้นฐาน หรือท่าที่ปรับจากท่าพื้นฐาน (henka) ผู้ฝึกอาจรู้สึกว่าไม่ก้าวหน้าอะไร นั่นไม่ใช่เพราะเราฝึกแต่สิ่งเดิมๆ แต่เป็นเพราะการฝึกของเรายังมาไม่ถึงจุดที่จะเราจะเข้าใจ ผู้สอนวิชาบูจินกันล้วนต้องการให้ลูกศิษย์มีฝีมือที่ก้าวหน้า มันเป็นความภูมิใจที่ได้เห็นลูกศิษย์ของเราพัฒนาฝีมือขึ้นทีละขั้นๆ ไปบนเส้นทางที่ถูกต้อง แต่บางครั้งการเร่งรัดก็ไม่ใช่สิ่งที่สามารถทำได้ คุณคงไม่สามารถขี่จักรยานได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ขึ้นนั่งบนอานจักรยาน คุณคงไม่สามารถว่ายน้ำได้ตั้งแต่การลงน้ำครั้งแรก คุณคงไม่สามารถเข้าถึงปฐมฌานในการนั่งสมาธิครั้งแรก

Continue reading »

ฝึกอุเกะมิ มา 10 ปีก็ยังน้อยไป

  สำหรับบูจินกันแล้ว ฝึก อุเกะมิ มา 10 ปีก็ยังน้อยไป ผมเคยได้ post ถึงความสำคัญของการฝึกอุเกะมิไปแล้ว แต่วันนี้จะขอ post เพิ่มอืกครั้ง คำว่า “อุเกะมิ” หากแปลตรงตัวจะมีความหมายว่า “การรับการกระทำ” ในบูจินกัน การฝึกอุเกะมิจะหมายถึงการฝึกรับเทคนิคของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างปลอดภัย ตัวอย่างเช่น

Continue reading »

แนวทางการฝึกฝนตัวเองจากญี่ปุ่น

ทำไมต้องเดินทางมาฝึกบูจินกันที่ประเทศญี่ปุ่น เก่งขึ้นหรือเปล่า? คำตอบที่ง่ายที่สุด น่าจะเป็นการฝึกฝนให้ฝีมือเราดีขึ้น การฝึกศิลปะต่อสู้นั้นจะต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง สายดำระดับหนึ่งในบูจินกันนั้นเรียกว่า shodan ซึ่งมีความหมายว่า “ขั้นเริ่มต้น” ดังนั้นการได้รับสายดำระดับหนึ่งมิได้หมายความว่าเราเรียนจบแล้ว เรายังจะต้องพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง หากจุดประสงค์ในการฝึกของคุณคือการได้มาซึ่งสายดำ และคุณรู้สึกพอใจเพียงแค่นั้น ฝีมือของคุณจะหยุดนิ่งอยู่กับที่ ในขณะที่ผู้ที่ฝึกหลังจากคุณอาจจะพัฒนาตัวเองจนแซงหน้าคุณไปในที่สุด หลายคนที่ฝึกมาระยะหนึ่งอาจรู้สึกว่าได้พัฒนาตัวเองจนเกือบสุดทางแล้ว และเริ่มมองหาแหล่งความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตัวเองขึ้นไปอีก พวกเขาจะเดินทางไปฝึกบูจินกันที่ประเทศญี่ปุ่นกับอาจารย์ที่มีฝีมือสูงมากๆ เพื่อที่จะพัฒนาฝีมือของตัวเองให้สูงขึ้นไปอีก

Continue reading »

ตาดู หูฟัง กายสัมผัส รับรู้ด้วยใจกับการถ่ายทอดวิชา 3 อย่างในบูจินกัน

การเรียนรู้สามทาง  คนเราสามารถเรียนรู้ได้ 3 ทาง หนึ่งคือทางการมอง (Visual) สองคือการฟัง (Auditory) และสามคือการได้ทดลองทำ (Kinesthetic) เราเรียนรู้คณิตศาสตร์ ศิลปะ และภาษาอื่น ด้วยการดูว่าเขาทำอย่างไร ฟังในสิ่งที่เขาอธิบาย และทดสอบทำด้วยตัวเอง หากเรามีความตั้งใจ เราสามารถเรียนในห้องเรียน ผ่านวีดีโอ หรือระบบ

Continue reading »

เซนไปย์ (รุ่นพี่) เซนเซย์ (อาจารย์) ชิโดชิ (ผู้ชี้ทาง) 
และชิฮัน (บุคคลตัวอย่าง)

Senpai กับ Sensei คำศัพท์เหล่านี้เป็นคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นที่ผู้ฝึกศิลปะต่อสู้ญี่ปุ่นได้ยินอยู่เป็นประจำ พอเริ่มฝึกมาสักพักหนึ่งก็จะเริ่มรู้ว่า เซนไปย์ (Senpai 先輩) มีความหมายว่ารุ่นพี่ ในขณะที่เซนเซย์ (Sensei 先生) มีความหมายว่าอาจารย์ ถ้าดูตามตัวอักษรคันจิแล้วคำว่า sen (先)นั้นมีความหมายว่าก่อนหน้า  ส่วนคำว่า pai (輩) นั้นมีความหมายว่า พวกพ้อง ดังนั้น senpai

Continue reading »

ประสบการณ์สอบสายดำระดับห้าที่ญี่ปุ่น

จากการที่ได้เดินทางไปฝึกและสอบที่ประเทศญี่ปุ่นได้พบเห็นหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทคโนโลยี, วัฒนธรรม, ความมีระเบียบวินัย ความมีมารยาทของผู้คนและที่ขาดไม่ได้คือประสบการณ์จากการฝึกและการสอบที่ทำให้หลายคนลุ้นจนตัวเกร็ง เริ่มจากการเดินทางครับ เมื่อถึงสนามบินนาริตะพอผ่านมาได้ก็รีบขึ้นรถไฟไปหาอาจารย์ตามที่ไดันัดหมายไว้จากนั้นก็ต่อรถไฟไปยังสถานี Minami Senju ปรากฏว่าต้องเดินไปที่พักอีก 650 เมตรครับ ลุยฝนเย็นเจี๊ยบยังกับน้ำในตู้เย็นพอถึงที่พักก็เปียกฉ่ำไปตามๆกัน หลังจากเช็คอินโรงแรมเรียบร้อย ก็ลุยฝนอีกรอบออกไปรับประทานอาหารเย็นกัน ขากลับก็ไม่ลืมที่จะแวะเซเว่นฯซื้ออาหารสำหรับมื้อเช้า จากนั้นเมื่อเข้าโรงแรมก็แยกย้ายกันพักผ่อนเพื่อเตรียมตัวลุยต่อในวันรุ่งขึ้นและแล้ววันแรกก็ผ่านไป หลังจากนั้นวันรุ่งขึ้นชีวิตก็มีแต่เดินๆๆขึ้นรถไฟแล้วก็เดินๆๆ ครับ เข้าใจแล้วครับที่

Continue reading »

เรื่องของระดับชั้น (Ranking)

  นี่คือความเห็นของผมเกี่ยวกับระดับสายในบูจินกัน อาจารย์มะซะอะกิ อยู่เหนือแนวคิดเรื่องระดับสายที่ไร้ค่า ท่านได้พูดถึงเรื่องสายในแบบของกีฬา และ ศิลปะต่อสู้หลายครั้งในหลายปีที่ผ่านมา ในบูจินกันมีมีแนวคิดที่เรียกว่า ซากิสุเคะ (Sakizuke) ซึ่งเป็นแนวทางที่ อ.มะซะอะกิ ได้รับสายสืบต่อมาจาก อ.ทะกะมะสึ ผมคิดว่า อ.มะซะอะกิให้ความเคารพ อ.ทะกะมะสึ และ ตัววิชาเป็นอย่างมาก ทำให้ท่านเข้าใจถึงสิ่งที่ อ.ทะกะมะสึ และตัววิชาต้องการจากท่านเป็นอย่างดี

Continue reading »

มารยาทในโรงฝึก

(ข้อแนะนำการเข้าฝึกที่ฮอมบู ในเรื่องของมารยาทในแบบญี่ปุ่น โดย Mark Lithgow ข้อร้องให้นำมาเผยแพร่ต่อไป)   ข้าพเจ้าได้สนทนากับ Soke ที่บ้านของท่านเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับธรรมเนียมมารยาทในโรงฝึกและท่านคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องบอกเล่าให้สมาชิกบูจินกันทุกคนได้ทราบ ในวันนี้ (10 พฤษภาคม 2015) อาจารย์ได้ฝากให้ข้าพเจ้าบอกต่อเล่าเรื่องนี้กับทุกคนที่เข้ามาฝึกบูจินกัน มารยาทในโรงฝึกผันแปรไปตามแต่ละสำนัก และโรงฝึกบูจินกันก็ด้วยเช่นกัน บ่อยครั้งที่เราเรียนรู้จากการมองคนอื่นที่รู้มากกว่าตัวเรา โชคไม่ดีที่ในหลายช่วงหลังมานี้มีคนมาที่โรงฝึกฮอมบุแห่งใหม่มากมาย และ

Continue reading »

การฝึกที่ประเทศญี่ปุ่น ตอนที่ 2 การสอบ sakki

Sakki Tast คือการสอบขึ้นสายดำขั้น 5 ของบูจินกัน บูโด ไทจุสสึ วิธีการก็คือ จะให้เรานั่งคุกเข่าหลับตา แล้วก็จะมีอาจารย์ระดับขั้น 15 ซึ่งอาจารย์มาซึอะกิจะเป็นคนเลือก มายืนอยู่ด้านหลังของเรา ใช้ดาบไม้ไผ่หุ้มนวมฟันลงมาที่ศีรษะจากด้านหลัง ถ้าหลบดาบนั้นได้ ก็ถือว่าผ่าน ได้รับสายดำขั้น 5 ถ้าใครยินครั้งแรก ก็คงจะคิดเหมือนผมตอนได้ยินอาจารย์เอกเล่าให้ฟังครั้งแรกเหมือนกันว่า

Continue reading »

การฝึกที่ประเทศญี่ปุ่น ตอนที่ 1 การเดินทางและความสำคัญของผู้ฝึก

1.สถานที่ฝึกและการเดินทาง การเดินทางไปญี่ปุ่นครั้งนี้ ไปช่วงวันที่ 1-7 มีนาคม 2558 จุดประสงค์หลักๆก็คือ ไปฝึกบูจินกัน บูโด ไทจุสสึ พวกเราไปฝึกอยู่ 3 ที่ คือ Hombu Dojo Ayase Kashiwa โรงฝึกทั้ง 3

Continue reading »