“Ten Thousand Changes, No Surprise” คำกล่าวของ อ.มะซะอะกิ ฮัทซึมิ อาจารย์ใหญ่ของบูจินกัน ประโยคนี้เป็นประโยคที่ อ.มะซะอะกิ อาจารย์ใหญ่ของบูจินกัน ได้บอกกล่าวกับลูกศิษย์ในการสอน ประโยคนี้ถ้าแปลตรงตัว ก็จะหมายความว่า “การเปลี่ยนแปลงนับหมื่น ก็ไม่ทำให้รู้สึกตระหนก” ประโยคนี้ฟังดูแล้วยาก บางคนอาจสงสัยว่าจะทำได้จริงหรือเปล่า ต้องเป็นยอดมนุษย์เท่านั้นถึงจะทำได้กระมัง
Continue reading »เมื่อถึงเวลา…คุณจะเข้าใจ
หากมองแบบผิวเผินแล้ว การฝึกบูจินกันหลายๆครั้งจะดูเหมือนกัน ท่าที่ฝึกก็เป็นท่าเดิมๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับการจู่โจม หรือ ukemi ท่ายืน ท่าพื้นฐาน หรือท่าที่ปรับจากท่าพื้นฐาน (henka) ผู้ฝึกอาจรู้สึกว่าไม่ก้าวหน้าอะไร นั่นไม่ใช่เพราะเราฝึกแต่สิ่งเดิมๆ แต่เป็นเพราะการฝึกของเรายังมาไม่ถึงจุดที่จะเราจะเข้าใจ ผู้สอนวิชาบูจินกันล้วนต้องการให้ลูกศิษย์มีฝีมือที่ก้าวหน้า มันเป็นความภูมิใจที่ได้เห็นลูกศิษย์ของเราพัฒนาฝีมือขึ้นทีละขั้นๆ ไปบนเส้นทางที่ถูกต้อง แต่บางครั้งการเร่งรัดก็ไม่ใช่สิ่งที่สามารถทำได้ คุณคงไม่สามารถขี่จักรยานได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ขึ้นนั่งบนอานจักรยาน คุณคงไม่สามารถว่ายน้ำได้ตั้งแต่การลงน้ำครั้งแรก คุณคงไม่สามารถเข้าถึงปฐมฌานในการนั่งสมาธิครั้งแรก
Continue reading »ฝึกอุเกะมิ มา 10 ปีก็ยังน้อยไป
สำหรับบูจินกันแล้ว ฝึก อุเกะมิ มา 10 ปีก็ยังน้อยไป ผมเคยได้ post ถึงความสำคัญของการฝึกอุเกะมิไปแล้ว แต่วันนี้จะขอ post เพิ่มอืกครั้ง คำว่า “อุเกะมิ” หากแปลตรงตัวจะมีความหมายว่า “การรับการกระทำ” ในบูจินกัน การฝึกอุเกะมิจะหมายถึงการฝึกรับเทคนิคของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างปลอดภัย ตัวอย่างเช่น
Continue reading »แนวทางการฝึกฝนตัวเองจากญี่ปุ่น
ทำไมต้องเดินทางมาฝึกบูจินกันที่ประเทศญี่ปุ่น เก่งขึ้นหรือเปล่า? คำตอบที่ง่ายที่สุด น่าจะเป็นการฝึกฝนให้ฝีมือเราดีขึ้น การฝึกศิลปะต่อสู้นั้นจะต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง สายดำระดับหนึ่งในบูจินกันนั้นเรียกว่า shodan ซึ่งมีความหมายว่า “ขั้นเริ่มต้น” ดังนั้นการได้รับสายดำระดับหนึ่งมิได้หมายความว่าเราเรียนจบแล้ว เรายังจะต้องพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง หากจุดประสงค์ในการฝึกของคุณคือการได้มาซึ่งสายดำ และคุณรู้สึกพอใจเพียงแค่นั้น ฝีมือของคุณจะหยุดนิ่งอยู่กับที่ ในขณะที่ผู้ที่ฝึกหลังจากคุณอาจจะพัฒนาตัวเองจนแซงหน้าคุณไปในที่สุด หลายคนที่ฝึกมาระยะหนึ่งอาจรู้สึกว่าได้พัฒนาตัวเองจนเกือบสุดทางแล้ว และเริ่มมองหาแหล่งความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตัวเองขึ้นไปอีก พวกเขาจะเดินทางไปฝึกบูจินกันที่ประเทศญี่ปุ่นกับอาจารย์ที่มีฝีมือสูงมากๆ เพื่อที่จะพัฒนาฝีมือของตัวเองให้สูงขึ้นไปอีก
Continue reading »ตาดู หูฟัง กายสัมผัส รับรู้ด้วยใจกับการถ่ายทอดวิชา 3 อย่างในบูจินกัน
การเรียนรู้สามทาง คนเราสามารถเรียนรู้ได้ 3 ทาง หนึ่งคือทางการมอง (Visual) สองคือการฟัง (Auditory) และสามคือการได้ทดลองทำ (Kinesthetic) เราเรียนรู้คณิตศาสตร์ ศิลปะ และภาษาอื่น ด้วยการดูว่าเขาทำอย่างไร ฟังในสิ่งที่เขาอธิบาย และทดสอบทำด้วยตัวเอง หากเรามีความตั้งใจ เราสามารถเรียนในห้องเรียน ผ่านวีดีโอ หรือระบบ
Continue reading »เซนไปย์ (รุ่นพี่) เซนเซย์ (อาจารย์) ชิโดชิ (ผู้ชี้ทาง) และชิฮัน (บุคคลตัวอย่าง)
Senpai กับ Sensei คำศัพท์เหล่านี้เป็นคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นที่ผู้ฝึกศิลปะต่อสู้ญี่ปุ่นได้ยินอยู่เป็นประจำ พอเริ่มฝึกมาสักพักหนึ่งก็จะเริ่มรู้ว่า เซนไปย์ (Senpai 先輩) มีความหมายว่ารุ่นพี่ ในขณะที่เซนเซย์ (Sensei 先生) มีความหมายว่าอาจารย์ ถ้าดูตามตัวอักษรคันจิแล้วคำว่า sen (先)นั้นมีความหมายว่าก่อนหน้า ส่วนคำว่า pai (輩) นั้นมีความหมายว่า พวกพ้อง ดังนั้น senpai
Continue reading »อบรมการป้องกันตัวเบื้องต้นสำหรับสำหรับสุภาพสตรี เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2558
ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับกิจกรรมดี ๆ ที่ได้ประกาศไปก่อนหน้านี้ของโรงฝึกบูจินกันประเทศไทย นั้นคือ การเปิดอบรมการป้องกันตัวเบื้องต้นสำหรับสำหรับสุภาพสตรี เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2558 ซึ่งทางโรงฝึกโดยตัวผมเอง และสมาชิกท่านอื่นๆ ซึ่งเป็นหัวหน้าโรงฝึกของบูจินกันอื่น ๆ ในประเทศไทย ก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของกิจกรรมนี้ จึงได้ขออนุญาตจากอาจารย์เพื่อทำการเปิดอบรมครั้งนี้และก็ได้รับการชี้แนะจากอาจารย์ถึงประเด็นสำคัญของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ จนกิจกรรมก็ได้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งสำหรับกิจกรรมในครั้งนี้นั้น ทางโรงฝึกได้พยายามมุ่งเน้นถึงสิ่งต่าง ๆ ที่สำคัญ
Continue reading »ประสบการณ์สอบสายดำระดับห้าที่ญี่ปุ่น
จากการที่ได้เดินทางไปฝึกและสอบที่ประเทศญี่ปุ่นได้พบเห็นหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทคโนโลยี, วัฒนธรรม, ความมีระเบียบวินัย ความมีมารยาทของผู้คนและที่ขาดไม่ได้คือประสบการณ์จากการฝึกและการสอบที่ทำให้หลายคนลุ้นจนตัวเกร็ง เริ่มจากการเดินทางครับ เมื่อถึงสนามบินนาริตะพอผ่านมาได้ก็รีบขึ้นรถไฟไปหาอาจารย์ตามที่ไดันัดหมายไว้จากนั้นก็ต่อรถไฟไปยังสถานี Minami Senju ปรากฏว่าต้องเดินไปที่พักอีก 650 เมตรครับ ลุยฝนเย็นเจี๊ยบยังกับน้ำในตู้เย็นพอถึงที่พักก็เปียกฉ่ำไปตามๆกัน หลังจากเช็คอินโรงแรมเรียบร้อย ก็ลุยฝนอีกรอบออกไปรับประทานอาหารเย็นกัน ขากลับก็ไม่ลืมที่จะแวะเซเว่นฯซื้ออาหารสำหรับมื้อเช้า จากนั้นเมื่อเข้าโรงแรมก็แยกย้ายกันพักผ่อนเพื่อเตรียมตัวลุยต่อในวันรุ่งขึ้นและแล้ววันแรกก็ผ่านไป หลังจากนั้นวันรุ่งขึ้นชีวิตก็มีแต่เดินๆๆขึ้นรถไฟแล้วก็เดินๆๆ ครับ เข้าใจแล้วครับที่
Continue reading »เรื่องของระดับชั้น (Ranking)
นี่คือความเห็นของผมเกี่ยวกับระดับสายในบูจินกัน อาจารย์มะซะอะกิ อยู่เหนือแนวคิดเรื่องระดับสายที่ไร้ค่า ท่านได้พูดถึงเรื่องสายในแบบของกีฬา และ ศิลปะต่อสู้หลายครั้งในหลายปีที่ผ่านมา ในบูจินกันมีมีแนวคิดที่เรียกว่า ซากิสุเคะ (Sakizuke) ซึ่งเป็นแนวทางที่ อ.มะซะอะกิ ได้รับสายสืบต่อมาจาก อ.ทะกะมะสึ ผมคิดว่า อ.มะซะอะกิให้ความเคารพ อ.ทะกะมะสึ และ ตัววิชาเป็นอย่างมาก ทำให้ท่านเข้าใจถึงสิ่งที่ อ.ทะกะมะสึ และตัววิชาต้องการจากท่านเป็นอย่างดี
Continue reading »สรุปการเดินทางเข้าฝึกที่ญี่ปุ่นปี 2015 ตอนที่ 2
จากตอนแรกที่ได้เล่าให้ฟ้งโดยรวมถึงสิ่งที่พบเจอและทำให้ได้แนวคิดมุมมองของอาจารย์ที่ไม่เคยได้คิดถึงมาก่อนนั้น เช่นกันสำหรับตอนที่สองนี้ ผมยังได้แนวคิดที่ก่อนหน้านี้ ไม่เคยคิดเลยอีกจุดหนึ่งเช่นกัน แต่ต้องออกตัวก่อนว่าส่วนนี้เป็นแนวคิดส่วนตัวล้วน ๆ จากการเดินทางในครั้งนี้ต่างจากการไปครั้งที่แล้วพอสมควร ตื่นเต้นน้อยลงมีเวลาได้เห็นอะไรมากขึ้น ซึ่งรวมถึงบรรยากาศรอบตัวในการเข้ารับการฝึกใน Class ของอาจารย์มาซาอะกิ บรรยากาศที่ว่านี้หมายถึงช่วงระหว่างที่ทำการเปลี่ยนชุดฝึกเรียบร้อยแล้วและรออาจารย์มาซาอะกิเดินทางมาถึง สิ่งที่ผมสังเกตเห็นนี้คือ คือการปฎิบัติตัวของอาจารย์ ชิราอิชิและอาจารย์เอก ผมคิดว่าหลายคนอาจจะไม่เห็น เพราะเป็นการกระทำที่ธรรมดามากๆ ดูเหมือนเป็นการปฏิบัติที่ปกติ ผมขอเล่าเป็นเหตุการณ์ เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อเดินทางถึงที่ถึงโรงฝึก
Continue reading »