การฝึกวันพุธที่โรงฝึกคาชิวะ ได้มีโอกาสได้ฟังอ.ชิราอิชิเล่าให้ฟังหลายเรื่อง แต่มีช่วงหนึ่งที่ท่านพูดถึง Management และ Leadership เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผมไม่เคยได้คิดถึงมาก่อน ผมไม่ได้เริ่มฝึกบูจินกันเพราะอยากเรียนการบริหาร ผมแค่ อยากจะมาฝึกศิลปะต่อสู้เท่านั้น แต่ถ้าลองคิดดีๆ ในสมัยโบราณ ถึงแม้จะเก่งแค่ไหน เราตัวคนเดียวไม่สามารถไปรบกับคนทั้ง กองทัพได้เราจะต้องจัดตั้งกองทัพร่วมกันคนอื่นเพื่อจะเอาชนะฝ่ายตรงข้ามให้ได้คนระดับบนในกองทัพก็ต้องดูว่าใครมีความ สามารถอะไร เหมาะสมกับงานประเภทไหน หากเขายังมีความสามารถไม่เพียงพอ เราจะสามารถฝึกฝนเขาให้เก่งได้อย่างไร ที่ สำคัญคือเราจะต้องสร้างแรงจูงใจให้แต่ละคน (โดยเฉพาะคนที่มีเก่งกว่าเราในบางด้าน) และนำพากองทัพเพื่อปฏิบัติภาระกิจ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้อย่างไร ถึงแม้เรื่องเหล่านี้จะไม่ได้เกี่ยวพันกับทักษะการต่อสู้โดยตรง แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็น และต้องได้รับการฝึกฝน
อันที่จริงแล้วอาจารย์ก็สอนเรื่องเหล่านี้อยู่เป็นประจำ แต่จะเป็นการสอนโดย Learning by Training คืออาจารย์จะ มอบหมายงานให้เราทำ (เมื่ออาจารย์รู้สึกว่าเราไว้ใจได้) เมื่อก่อนก็ยังคิดว่า มันจะอะไรกันหนักกันหนา ผมก็แค่อยากมาฝึกวิชา ทำไมต้องเอางานที่ไม่ค่อยเกี่ยวกับการฝึกมาให้ทำด้วย ผมไม่รู้ว่านี่เป็นแบบฝึกหัด ที่จะช่วยให้เรารู้จักบริหารงาน และสร้าง ภาวะความเป็นผู้นำขึ้นมา เรื่องของการเขียนบทความก็เช่นกัน ตัวผมเองอาจจะโชคดีที่ชอบเขียนอยู่แล้ว จึงไม่ได้มีปัญหากับ การเขียน แต่อีกมุมมองหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ มันไม่ใช่ว่าผมเขียนคนเดียวแล้วจะจบ แนวคิดที่ดีกว่าคือผมจะช่วยกระตุ้นให้คนอื่น เขียนบทความ เพื่อสร้างคุณค่าให้กับบูจินกันได้อย่างไร
สำหรับเรื่องการสร้างภาวะผู้นำ ผมคิดว่ามันเกี่ยวข้องกับ “ความคาดหวัง” อาจารย์ได้พูดเสมอว่าสายมาพร้อมกับ “ความคาดหวัง” เมื่อก่อนจะคิดว่า “ความคาดหวัง” นั้นหมายถึง “ความคาดหวัง” ของอาจารย์แต่ถ้าคิดดีๆ แล้ว มันยัง เป็น“ความคาดหวัง” ของตัวเราเอง และ “ความคาดหวัง” ของเพื่อนร่วมฝึกอีกด้วย ตอนที่ผมยังคาดสายเขียวอยู่ผมจะรู้สึก ว่าเราก็แค่ฝึก เดี๋ยวก็เก่ง แล้วก็รู้สึกเก่ง ทั้งๆที่ไม่เก่ง ตอนน้ันคงไม่มีใคร “คาดหวัง” หรือใส่ใจอะไรกับผมมาก ไม่มีใครที่จะ มองผมเป็น Role Model ไม่มีใครคิดว่าจะเดินตามผม เมื่ออาจารย์ให้สายดำมาผมก็รู้สึกกดดันเป็นอย่างมาก อย่างแรกเลย เป็นเพราะมันเกิด “ความคาดหวัง” ขึ้นกับตัวผมเอง ถ้าผมทำได้ไม่ดีคนอื่นก็จะมองเราว่าสายดำทำได้แค่นี้หรือ แต่ถ้าทำดีผม อาจเป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจให้คนอื่นเดินตามได้ตอนที่ฝึกที่คาชิวะ อ.ชิราอิชิเดินมาแนะนำผมกับผู้ฝึกชาวญี่ปุ่นว่าผม ได้รับขั้น 5 แล้ว นั่นก็เป็นอีกครั้งที่รู้สึกกดดันว่าถ้าทำได้ไม่ดีคนก็จะมองว่า “นี่หรือขั้น 5 บูจินกัน” แน่นอนว่าสำหรับขั้น 5 แล้ว “ความคาดหวัง” ก็จะมากขึ้น ทั้งด้านฝีมือ แนวคิด การวางตัว ความรับผิดชอบ การประเมินผู้อื่น และเรื่องอื่นๆ หาก เราสามารถตอบสนอง “ความคาดหวัง” อันนั้นได้เราก็จะสามารถสร้างความน่าเชื่อถือและความน่านับถือ เป็นการขยับภาวะ ผู้นำของเราขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งด้วย
เรื่องที่เราสามารถได้เรียนรู้จากญี่ปุ่นและจากบูจินกันยังมีอีกเยอะ จึงมีคำพูดที่ว่าบูจินกันไม่ได้เป็นเพียงศิลปะการ ต่อสู้แต่เป็นแนวทางการดำเนินชีวิต ถ้าเราสังเกตุและและนำเอาสิ่งที่ที่เราได้เรียนรู้มาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เราจะสามารถ พัฒนาตนเองให้ดีขึ้นๆ เรื่อยๆ
ธีรวัฒน์ อิสสริยะกุล
สายดำระดับห้า บูจินกัน บูโด ไทจุสสุ