สิ่งที่ผมเรียนรู้จากการไปญี่ปุ่น ตอนที่ 2 ผู้ฝึกที่ดีและผู้ฝึกที่ไม่ดี

Posted by

ตอนที่ 2 ผู้ฝึกที่ดีและผู้ฝึกที่ไม่ดี

การเดินทางไปญี่ปุ่นรอบนี้ผมเจอฝรั่ง (โดยเฉพาะฝรั่งสายเขียว) ที่เข้าฝึกบูจินกันเยอะมาก แต่กลับเจอคนญี่ปุ่นที่มา ฝึกค่อนข้างน้อย ฝรั่งที่ได้เจอก็มีทั้งดีและไม่ดี (แต่ส่วนใหญ่จะไม่ดี) วันแรกที่ฮอมบุ เจอฝรั่งสองคนยืนหอมแก้มกันในโรงฝึก … คือเข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมดาของฝรั่ง แต่นี่โรงฝึกนะครับ เคารพโรงฝึกหน่อยดีมั้ย? อีกคนใส่กางเกงเป็นขากว้างๆคล้ายๆ ขาก๊วยไม่ใส่ทาบิอีกคนมาตีลังกาหกสูงในโรงฝึก ฝรั่งอีกหลายคนก็ไม่ได้ตั้งใจฝึก ระหว่างฝึกก็จับกลุ่มคุยกัน เวลาทำก็ทำไป คนละท่ากับอาจารย์ (แล้วยังมีการมาสอนอีกว่าต้องทำแบบนี้) พอทำไม่ได้ก็ใช้แรง ฝรั่งคนเดียวกันเนี่ยแหละเวลาที่อาจารย์ให้ ออกไปแสดงท่าที่เรียนมาในวันนี้ให้ดูก็ไปโชว์ตีลังกา ทำไปคนละท่า เหมือนว่าถ้าโชว์อย่างนี้แล้วคนอื่นจะเห็นว่าเก่ง ถ้าถาม ผม ผมคงได้แต่ส่ายหัว ระหว่างการเดินทางเราก็มีการพูดถึงเรื่องเหล่านี้บ้างว่าทำไมฝรั่งจึงทำตัวแบบนี้อาจารย์เขาไม่ดูเลยเห รอ หรือว่าอาจารย์ก็เป็นเหมือนกัน นี่แหละที่เขาบอกว่า “ลูกศิษย์ดีเป็นศรีแก่ตัว ลูกศิษย์ชั่วปวดหัวตาย__”

ลองถามตัวเองว่าทำไมมาครั้งนี้เจอฝรั่งแย่ๆ เยอะจัง มันก็มี 2 คำตอบ หนึ่งคือคราวนี้โชคร้ายมาตอนฮอมบุใหม่เพิ่ง เปิด เลยมีฝรั่งนักท่องเที่ยวที่อยากมาโรงฝึกใหม่เพื่อถ่ายรูปเยอะ สองคือผมอาจจะมองโลกต่างจากการที่มาญี่ปุ่นรอบที่แล้ว คราวที่แล้วอาจจะมีฝรั่งที่ไม่ดีอยู่บ้างแต่ผมอาจจะไม่ได้สนใจอะไร ผมคิดว่าวุฒิภาวะคงจะเปลี่ยนไปตามการฝึก อย่างตอนที่ ผมเริ่มฝึกบูจินกันในโรงฝึกของมหาลัยที่ประเทศแคนนาดา ตอนนั้นหัวหน้ากลุ่มฝึกเป็นฝรั่ง เป็นนักเรียนในมหาลัยซึ่งได้รับสาย ดำระดับหนึ่ง ฝรั่งเองจะให้ความคุ้นเคยกันไม่ได้ให้ความเคารพอะไรมากมาย การเรียกครูฝึกก็จะเรียกชื่อเหมือนเป็นเพื่อนกัน ผมเองก็ยังใหม่อยู่ก็จะทำตามเค้าไป เรียกอาจารย์โดยชื่อ ไม่ได้เรียก “อาจารย์” พอเรียนขึ้นเทอมที่สอง มีนักเรียนใหม่เข้ามา ตัวเองก็นึกว่าตัวเองเก่งมาก พออาจารย์สอน ก็ยืนทำหน้าบึ้งกอดอกอยู่ริมห้อง เหมือนๆกันกับคนอื่น มาคิดดูแล้ว ถ้าพวกนั้น เดินทางมาญี่ปุ่นแล้วทำตัวแย่ๆ ผมก็คงทำตัวแย่ๆ ไม่ต่างกัน ผมคงคิดว่าไม่ผิด คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาๆ

แต่มาถึงวันนี้มุมมองเรื่องศิลปะป้องกันตัวของผมจะต่างไปจากเดิม ผมคิดว่าโรงฝึกเป็นสถานที่ๆเราควรให้ความ เคารพ ทั้งด้านการแต่งกาย มารยาท ธรรมเนียม และการฝึก เวลาอาจารย์พูดเราควรจะให้ความเคารพและต้ังใจฟัง เวลาทำก็ ควรที่จะทำในสิ่งที่อาจารย์สอน ไม่ใช่ทำไปคนละท่า อาจารย์มักจะมีเหตุผลของอาจารย์ว่าทำไมจึงให้เราทำท่านี้ถ้าเราได้ทำ เราก็อาจจะเข้าใจเอง สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นส่ิงที่ฝรั่งไม่ค่อยเข้าใจกัน เนื่องจากวัฒนธรรมตะวันตกแตกต่างจากวัฒนธรรมตะวัน ออกค่อนข้างมาก

แต่ก็มีฝรั่งบางส่วนที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นที่เข้าใจเรื่องเหล่านี้ไปญี่ปุ่นครั้งนี้ผมได้เล่นกับฝรั่งคนหนึ่งซึ่งเป็นอาจารย์สอน ภาษาอังกฤษอยู่ที่ญี่ปุ่นมาหลายปีแล้ว ฝรั่งคนนี้ให้ความเคารพอาจารย์และโรงฝึกมาก ตอนเล่นก็เล่นดีไม่ใช้แรง ไม่สอน แต่ จะมีให้ Feedback เวลาเล่นบ้างว่า เขารู้สึกอย่างไร มันน่าจะเป็นอย่างไร

พวกเราเองพอเห็นฝรั่งหลายๆแบบ ก็สามารถนำมาเป็นตัวอย่าง อะไรที่ดีก็รับมา อะไรที่ไม่ดีก็ให้รู้ไว้ว่าอันนี้ไม่ดี อย่า ไปเอาอย่างเขา ผมคิดว่าการฝึกบูจินกันของโรงฝึกบูจินกันประเทศไทยเป็นการฝึกที่มาถูกทางแล้ว เพราะเราไม่ได้ฝึกแค่ทักษะ แต่เราซึมซับทั้งวัฒนธรรม แนวคิด การวางตัว และการใช้ชีวิตเข้ามาด้วย

ธีรวัฒน์ อิสสริยะกุล
สายดำระดับห้า บูจินกัน บูโด ไทจุสส