Bujinkan Budo Taijutsu
บูจินกัน บูโด ไทจุสสึเป็นโรงฝึกศิลปะการต่อสู้โบราญของญี่ปุ่น ในอดีตไม่เปิดสอนกับชาวต่างชาติ จนกระทั่ง เจ้าสำนักลำดับที่ 34 ของ โตกาคุเระ ริว นินโป Togakure Ryu Ninpo
อาจารย์มาซาอะกิ ฮะซึมิได้รับชาวต่างชาติเข้าไปฝึก และได้เปิดเผยความลับเกี่ยวกับวิชานี้ขึ้นมา
วิชาของโรงฝึกบูจินกัน เป็นวิชาที่เป็นเอกเทศ ไม่ขึ้นกับสมาคมอื่น ๆ ใด เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมในอดีต และ ไม่ถูกควบคุมจากองค์กรใด ๆ
ในอดีตได้ใช้ชื่อโรงฝึก โตกาคุเระ ริว นินโป (นินจุสสุ) แล้วเปลี่ยนเป็น บูจินกัน นินโป Bujinkan Ninpo หรือ บูจินกัน นินจุสสุ โดยสุดท้ายภายหลังได้เปลี่ยนเป็น บูจินกัน บูโด ไทจุสสุ (Bujinkan Budo Taijutsu)
โดยชื่อของ Bujinkan เป็นชื่อที่ตั้งโดยอาจารย์มาซาอะกิ ฮะซึมิ
แปลเป็นภาษาไทยว่า “โรงฝึกนักรบเทพ” หรือ “โรงฝึกนักรบจากสวรรค์”
Bu = การรบ,การต่อสู้
Jin = เทวดา , เทพ
Kan = สถานที่
บูโด ไทจุสสึ หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ นินจุสสึ ที่ได้เปลี่ยนมาใช่ชื่อบูโด ไทจุสสึ ในภายหลัง โดยในวิชาบูโด ไทจุสสุนี้หมายถึงกลุ่มของวิชาการต่อสู้โบราณของบูจินกัน ประกอบด้วยเก้าวิชา ที่อาจารย์มาซาอะกิได้รับเป็นผู้สืบทอด ได้แก่
Togakure Ryuu Ninpo , Gyokko Ryuu Kosshijutsu,
Koto Ryuu Koppojutsu, Shinden Fudo Ryuu Dakken Taijutsu,
Kukishinden Ryuu Taijutsu, Takagi Yoshin Ryuu Jutaijutsu,
Kumogakure Ryuu Ninpo , Gyokushin Ryuu Ninpo,
Gikan Ryuu Koppojutsu
สำหรับริว Ryu (Style) ของบูจินกัน มีทั้งหมด 9 ริวโดยมี 3 ริวที่เป็นการต่อสู้แบบนินจุสสึและ 6 ที่เป็นวิชาการต่อสู้โบราณอื่น ๆ เป็นอีกหนึ่งในสาเหตุที่บูจินกัน นินจุสสึ เปลี่ยนชื่อเป็น บูจินกัน บูโด ไทจุสสุ เนื่องจากเป็นการฝึกวิชาทั้ง 9 ไม่ใช่เฉพาะเพียงแคนินจุสสุเท่านั้น
ปัจจุบันมีผู้ฝึกบูจินกันทั่วโลกกว่าสี่แสนคน และ มีผู้ฝึกสอน(ชิโดชิ)ทั่วโลกประมาณสี่พันคน โดยปัจจุบันบูจินกัน บูโด ไทจุสสุ ยังถูกสอนให้กับหน่วยทหาร ตำรวจทั่วโลกอีกด้วย
โรงฝึกหลักของบูจินกัน หรือ รู้จักกันในชื่อของบูจิเด็น ตั้งอยู่ที่จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น
สำหรับศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าของบูจินกันจะเรียกว่าไทจุสสึ
Taijutsu ในความหมายตามอักษรได้แก่
- ไท หรือ คาราดะ มีความหมายถึงร่างกาย
- จุสสึ มีความหมายถึงศิลปะ
ไทจุสสึ จึงมีความหมายถึง ศิลปะการใช้ร่างกาย สำหรับบูจินกันแล้ว ไทจุสสึมีความหมายถึงศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าที่จะแตกย่อยออกไปเป็นหลายทักษะ เช่น
- Dakentaijutsu ศิลปะการต่อสู้ด้วยการจู่โจมหรือศิลปะการต่อสู้โดยใช้การกระแทก
- Jutaijutsu ศิลปะการต่อสู้ที่เน้นการคว้ายจับและความยืดหยุ่นของร่างกาย
- Taihenjutsu ศิลปะในการล้ม
สำหรับบูจินกัน ทุกสิ่งเริ่มต้นด้วยไทจุสสึ ไทจุสสึจะถูกนำมาใช้กับการเคลื่อนไหวทุกชนิด ไม่ว่าเป็นการต่อสู้ด้วยมือเปล่าหรือการใช้อาวุธ ความชำนาณในไทจุสสึไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคนิคแต่จะขึ้นอยู่กับ ระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างตนและคู่ต่อสู้ หรือ อาวุธของคู่ต่อสู้, การนำเทคนิคมาใช้ได้ในเวลาที่เหมาะสม และ การเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่อง
สำหรับไทจุสสึ เทคนิคจำนวนมาก ๆ ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญในการฝึก แต่สิ่งที่สำคัญคือการเคลื่อนไหวแบบไทจุสสึ การเคลื่อนไหวที่ดีจะดูเรียบง่าย เทคนิคออกมาจากการเคลื่อนไหวร่างกายไม่ใช่มาจากการใช้กำลัง ถ้ามองดูภายนอกจะออกมาในรูปการเคลื่อนไหวง่าย ๆ แต่ความจริงแล้วต้องฝึกฝนกันเป็นเวลานาน
ปัจจุบัน บูจินกันไม่นิยมเรียกตนเองว่าเป็นนินจา เนื่องจากภาพลักษณ์ของคำว่านินจา ได้เสียหายไปจากภาพยนต์ของทางตะวันตก ทำให้คนนักมองภาพของผู้ฝึกนินจุสสึผิด ๆ แต่สื่อต่าง ๆ ภายนอกยังนิยมเรียกชื่อของผู้ฝึกว่านินจา เนื่องจากคำว่า นินจา เป็นคำที่ขายได้ง่าย
ระดับขั้นของวิชาบูจินกัน Bujinkan Budo Taijutsu ประเทศญี่ปุ่น ก็คือ
- Shoshinsha หรือ shinnyusha (ระดับสายขาว ผู้เข้าฝึกใหม่)
- 9th-1st kyu (ระดับก่อนสายดำมีสิบระดับ ใช้สายเขียว สำหรับผู้ชาย หรือ สายแดง สำหรับผู้หญิง)
- 1st-15th dan (ระดับสายดำมีสิบห้าระดับ ใช้สายดำ)
- ระดับผู้ฝึกสอน สายดำแบ่งออกเป็นสามระดับ ได้แก่
- ชิโดชิ โฮะ Shidoshi-ho ระดับสายดำขั้นที่ 1 ถึง 4 (เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น)
- ชิโดชิ Shidoshi ระดับสายดำขั้นที่ 5 ขึ้นไป
- ชิฮัน Shihan ระดับสายดำขั้น 10 ขึ้นไป (ตำแหน่งชิฮันเป็นตำแหน่งที่ใช้เรียกด้วยความเคารพ)
ผู้ที่ได้รับอนุญาติให้สอนได้หรือจะได้รับตำแหน่ง Shidoshi-ho หรือ Shidoshi ได้จะต้องมีบัตร Shidoshi ประจำปีในแต่ละปี ผู้ที่ได้รับเพียงสายดำขั้นห้าแต่ไม่มีบัตร Shidoshi ไม่ถือเป็นผู้ฝึกสอนไม่สามารถเปิดโรงฝึกได้ (dojo)
สถานที่ฝึกสอนมีสองประเภท ได้แก่
1. Training Group สามารถเปิดได้โดยสมาชิกของบูจินกัน
2. Dojo เปิดโดย Shisoshi หรือ Shidoshi-ho ขึ้นไป