-
Recent Posts
- โรงฝึกบูจินกันประเทศไทยย้ายที่ฝึกจากตึกช้างไปที่สโมสรกองทัพบก ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559
- งดฝึก 23 ตุลาคม 2559 และ งดรับสมาชิกใหม่ในวันที่ 30 ตุลาคม 2559
- ภาพจากงานอบรมการป้องกันตัวสำหรับสุภาพสตรีเนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติ 2559
- อบรมศิลปะการป้องกันตัวสำหรับสุภาพสตรี เนื่องในวันแม่แห่งชาติ 2559
- วันอาทิตย์ที่ 31 ก.ค. 2559 งดการเข้าฝึกสำหรับผู้ที่จะมาเข้าฝึกใหม่
Categories
Blogroll
Meta
Tag Archives: วิชานินจา
เวปไซต์สำหรับโรงฝึกของสมาชิกทั้งสี่แห่งในประเทศไทย
จากเมื่อเดือนก่อน ๆ อาจารย์ได้ โพสต์ถึงสถานที่ฝึก บูจินกัน โดยสมาชิกโรงฝึกประเทศไทย ที่ได้สอบผ่านการเป็นผู้ฝึกสอน ระดับชิโดชิ ไปแล้ว จากที่ทั้งสี่คนนั้นมีโรงฝึกของตนเอง ในตอนนี้ได้มีเวปไซต์เป็นของตนเองเป็นที่เรียบร้อย จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันอีกครั้งหนึ่ง ผู้สนใจการฝึกในแต่ละสถานที่สามารถติดต่อโรงฝึกแต่ละที่โดยตรง 1. โรงฝึกสยามสแควร์: ซุยคิ โดโจ เวปไซต์ http://bujinkan-suikidojo.com 2. โรงฝึกสมุทรปราการ: ฟูกิ โดโจ เวปไซต์ http://www.bujinkan-samutprakan.com 3. โรงฝึกธนบุรี: องเกียวกิ โดโจ เวปไซต์ http://bujinkan-thonburi.com 4. โรงฝึกหลักสี่: โอนิ โดโจ เวปไซต์ http://bujinkan-onidojo.com
ภาพยนตร์ชิโนบิโนะโมโนะ และ จิไรยะ
สำหรับภาพยนตร์ในญี่ปุ่นนั้น ไม่เหมือนภาพยนต์ในบ้านเราที่ฉากแอ็คชั่นมักให้ฝ่ายคิวบู๊ ที่ไม่มีความรู้เรื่องศิลปะการต่อสู้มาแสดงทำให้หลาย ๆ ครั้งฉากที่ออกมาเป็นที่น่าตลกขบขัน กับคนที่ฝึกศิลปะการต่อสู้จริง ๆ แต่ในญี่ปุ่นนักให้ผู้มีความเชี่ยวชาญก็คือนักศิลปะการต่อสู้จริง เป็นที่ปรึกษา ดังนั้นเราจะเห็นว่าภาพยนตร์ญี่ปุ่นส่วนมากจะใช้นักศิลปะการต่อสู้จริง ๆ มาเป็นที่ปรึกษา หลายเรื่องย้อนยุคเกี่ยวกับซามูไรทั้งหลายถึงได้มีความสมจริงมาก Credit : : ภาพจากหนังสือ Martial art of The world หนังเกี่ยวกับวิชานินจาเองก็เหมือนกัน ตั้งแต่อดีต ต้นยุค 60หนังเรื่อง ชิโนบิ โนะ โมโนะ ผู้กำกับของหนังเรื่องดังกล่าวได้โทรเข้ามาขอก็ได้มาขอคำแนะนำจากอาจารย์มาซึอะกิ และได้เข้าพบกับอาจารย์ทากามัสซึ โทชิสุกุ และ อาจารย์มาซาอะกิ ฮะซึมิ เพื่อปรึกษาที่จะทำหนังที่สมจริงขึ้นมา โดยได้รับเป็นที่ปรึกษาทางด้านเทคนิคการต่อสู้ด้วย ซึ่งหนังเรื่องนี้เองก็กลายเป็นหนังเกี่ยวกับนินจา ที่โด่งดังที่สุดเรื่องหนึ่งในอดีตของญี่ปุ่น แต่สิ่งที่คนทั่วไปไม่ทราบกันก็คือตัวแสดงในเรื่องนี้ ที่เป็นนินจาที่โด่งดังชื่อ Momochi … Continue reading
Update จากญี่ปุ่น ธันวาคม 2012
ในเดือนพ.ย.นี้ ผมก็ได้มีโอกาสกลับมาญี่ปุ่นอีกครั้งหลังจากครั้งก่อนเมื่อประมาณ เดือน ก.พ. ปีที่แล้ว เป็นประจำทุกปีที่ต้นเดือนธันวาคม จะมีการจัดการประชุมใหญ่ที่เรียกว่า Daikomyosai ในปีนี้ก็มีการจัดงานเช่นเคย โดยมีผู้ฝึกจากทั่วโลกโดยเฉพาะผู้ฝึกระดับสูงมาชุมนุมกัน ในปีนี้อาจารย์มาซึอะกิที่ปัจจุบันอายุมากกว่า 80 ปีแล้ว ยังคงมีสุขภาพแข็งแรง มือหนักเหมือนเดิม (โดนมาด้วยตัวเองทุกปี) และ ยังแสดงความน่าทึ่งในการสอนเหมือนเดิม ส่วนอาจารย์ชิราอิชิก็อายุย่างเข้าเจ็ดสิบปีแล้ว แต่ก็ยังเป็นอุเคะให้อาจารย์มาซึอะกิอยู่ ในบางครั้งก็รู้สึกน่าทึ่งว่า ทั้ง ๆ ที่ผู้ฝึกจากทั่วโลกในระดับผู้ฝึกสอนทั้งหลายที่ฝึกมาเป็นเวลายาวนาน ก็ยังไม่สามารถตามทักษะของอาจารย์ได้ทันเหมือนตอนฝึกหัดใหม่ ๆ เช่นเดิม แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ผู้ฝึกทั้งหลายมีการพัฒนาตนเองขึ้นมาแล้ว แต่อาจารย์เองก็พัฒนาขึ้นไปอีกขั้นเช่นกัน การประชุมใหญ่ครั้งนี้อาจารย์ได้ประกาศว่า ตอนนี้บูจินกันมีสายดำขั้นสิบห้า 330 คน มีชิโดชิ(ขั้นห้าขึ้นไป) 3300 คน และมีผู้ฝึกทั่วโลกกว่าสามแสนคน ในการฝึกครั้งนี้อาจารย์ยังได้นำดาบหายากอย่าง … Continue reading