-
Recent Posts
- โรงฝึกบูจินกันประเทศไทยย้ายที่ฝึกจากตึกช้างไปที่สโมสรกองทัพบก ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559
- งดฝึก 23 ตุลาคม 2559 และ งดรับสมาชิกใหม่ในวันที่ 30 ตุลาคม 2559
- ภาพจากงานอบรมการป้องกันตัวสำหรับสุภาพสตรีเนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติ 2559
- อบรมศิลปะการป้องกันตัวสำหรับสุภาพสตรี เนื่องในวันแม่แห่งชาติ 2559
- วันอาทิตย์ที่ 31 ก.ค. 2559 งดการเข้าฝึกสำหรับผู้ที่จะมาเข้าฝึกใหม่
Categories
Blogroll
Meta
Tag Archives: บูจินกัน
งดฝึกเนื่องในเทศกาลปีใหม่ วันที่ 3 มกราคม 2559
ประกาศ งดฝึกเนื่องในเทศกาลปีใหม่ วันที่ 3 มกราคม 2559 เนื่องจากตึกปิด สำหรับอาทิตย์ถัดไป จะมีการฝึกตามปรกติ
กิจกรรมนอกสถานที่ พ.ย.2558
กิจกรรมนอกสถานที่ประจำปี 2558 เป็นกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ในโรงฝึก และ การฝึกนอกสถานที่ที่จัดขึ้นทุกปี ในปีนี้จัดขึ้นที่จังหวัดนครนายก ในเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา
ประกาศงดทำการฝึกวันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2558
เนื่องจากมีการจัดกิจกรรม Bike for mom ในวันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2558 โดยจะมีการปิดถนนเพิ่มเติมหลายจุดโดยรอบ ตั้งแต่เวลา 12.00 – 21.00 น. ซึ่งสมาชิกจะเดินทางไม่สะดวก ดังนั้นโรงฝึกจึงของดทำการฝึกในวันดังกล่าว สัปดาห์ต่อไปมีการฝึกตามปรกติ
ภาพจากกิจกรรมอบรมการป้องกันตัวเนื่องในวันแม่แห่งชาติ 2558
ประมวลภาพจากกิจกรรมอบรมการป้องกันตัวเนื่องในวันแม่แห่งชาติ วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม 2558
อาจารย์เอกได้รับประกาศนียบัตร Yushu shihan
วันอังคารที่ 4 สิงหาคม 2015 ร.ท. เอก โอสถหงษ์ หัวหน้าโรงฝึกบูจินกันประเทศไทย ได้รับประกาศนียบัตรตำแหน่ง Yushu shihan จากอาจารย์มะซะอะกิ อะซึมิ (Yushu ยูชู = 優秀 excellence, important; Shihan ชิฮัน = 師範 master, model instructor) ก่อนหน้านี้ในโรงฝึกบูจินกัน ไม่มีตำแหน่งชิฮัน(ผู้สอนอาวุโส)อย่างเป็นทางการ แต่จะมีแต่ตำแหน่งชิโดชิ ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้สอน เมื่อสอบผ่านสายดำระดับห้า ประกาศนียบัตร Yushu Shihan เพิ่งเริ่มมีการให้เมื่อปี 2014 โดยเป็นตำแหน่งที่ได้รับเฉพาะสายดำระดับสิบห้าเท่านั้น ถือเป็นตำแหน่งชิฮันอย่างเป็นทางการของบูจินกัน การได้รับครั้งนี้จึงนับเป็นเกียรติสำหรับโรงฝึกบูจินกันประเทศไทยในการได้รับตำแหน่งในครั้งนี้
อบรมศิลปะการป้องกันตัวสำหรับสุภาพสตรีโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เนื่องในวันแม่แห่งชาติ
เนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2558 โรงฝึกบูจินกันประเทศไทยจะจัดอบรมศิลปะการป้องกันตัวสำหรับสุภาพสตรี โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายสำหรับบุคคลทั่วไป เพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ กิจกรรมในครั้งนี้จะทำการฝึกศิลปะการป้องกันตัวเบื้องต้น รวมทั้งแนวคิดเพื่อการป้องกันตัวแบบต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ชีวิตประจำวันสำหรับสุภาพสตรี โดยใช้ทักษะในรูปแบบของโรงฝึกบูจินกัน การอบรมจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 8 สิงหาคมนี้ เวลา 13.00 น. – 17.00 น. ณ.ห้องฝึกชั้น 2 ตึกช้าง แยกรัชโยธิน กิจกรรมนี้รับจำนวนจำกัดไม่เกิน 30 ท่าน ผู้ที่สนใจเข้าร่วมสามารถลงทะเบียนเข้าอบรมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 0860068745 และ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ด้วยเบอร์เดียวกัน (ไม่รับลงทะเบียนผ่านอินเตอร์เน็ต หรือ อีเมล์) หากมีผู้ลงทะเบียนเต็มแล้วจะมีการประกาศอีกครั้งหนึ่ง
เวปไซต์สำหรับโรงฝึกของสมาชิกทั้งสี่แห่งในประเทศไทย
จากเมื่อเดือนก่อน ๆ อาจารย์ได้ โพสต์ถึงสถานที่ฝึก บูจินกัน โดยสมาชิกโรงฝึกประเทศไทย ที่ได้สอบผ่านการเป็นผู้ฝึกสอน ระดับชิโดชิ ไปแล้ว จากที่ทั้งสี่คนนั้นมีโรงฝึกของตนเอง ในตอนนี้ได้มีเวปไซต์เป็นของตนเองเป็นที่เรียบร้อย จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันอีกครั้งหนึ่ง ผู้สนใจการฝึกในแต่ละสถานที่สามารถติดต่อโรงฝึกแต่ละที่โดยตรง 1. โรงฝึกสยามสแควร์: ซุยคิ โดโจ เวปไซต์ http://bujinkan-suikidojo.com 2. โรงฝึกสมุทรปราการ: ฟูกิ โดโจ เวปไซต์ http://www.bujinkan-samutprakan.com 3. โรงฝึกธนบุรี: องเกียวกิ โดโจ เวปไซต์ http://bujinkan-thonburi.com 4. โรงฝึกหลักสี่: โอนิ โดโจ เวปไซต์ http://bujinkan-onidojo.com
จากอาจารย์ เม.ย. 2015 : ยินดีต้อนรับชิโดชิใหม่
สำหรับเดือนที่ผ่านมาเรามีข่าวดีสำหรับโรงฝึกประเทศไทย คือ มีการเลื่อนสายดำในระดับสูงขึ้นสำหรับผู้ฝึกขั้นสูง คือ ระดับที่ห้าเป็นหกเพิ่มหนึ่งคน และ ได้ผู้ได้รับระดับห้าเป็นชิโดชิใหม่เพิ่มขึ้นอีกสี่คน ตามที่ประกาศไปเมื่อครั้งที่แล้ว นับเป็นข่าวดีที่รอกันมานานสำหรับอาจารย์เองที่ได้มีสมาชิกในระดับชิโดชิเพิ่มขึ้นอีก ในการสอบคราวนี้มีขึ้นที่โรงฝึกโตเกียวบุโดกัง ที่เมืองอะยะเสะ ประเทศญี่ปุ่น สมาชิกทั้งสี่สามารถสอบผ่านการทดสอบ Sakki test ของบูจินกันไปได้อย่างเต็มภาคภูมิ จนได้รับการปรับขึ้นสู่สายดำระดับห้าและรับตำแหน่งชิโดชิอย่างเต็มตัว หลังสอบมีทั้งอาจารย์ชาวญี่ปุ่น และ ชาวต่างชาติหลายคนเข้ามาแสดงความยินดีกับผมในฐานะผู้สอน สำหรับผมซึ่งเป็นผู้สอนแล้ว สิ่งที่น่าภูมิใจในครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องที่สมาชิกของโรงฝึกสอบผ่าน แต่เป็นเรื่องที่สมาชิกของโรงฝึกได้พิสูจน์ตัวเองว่ามีความเหมาะสมในสายที่ตนได้รับได้ในระดับสากล เป็นการหยั่งรากให้ลึกขึ้นของวิชาบูจินกัน บูโด ไทจุสสุในประเทศไทย ซึ่งสามารถบอกได้ว่าเรามาถูกทางแล้ว โดยอาจารย์มาซะอะกิเองก็พอใจกับผลที่ได้ อาจารย์มาซะอะกิมักจะเน้นย้ำกับผมให้หา”คนที่ดี” เข้าฝึกวิชาบูจินกัน นินจุสสุ ซึ่งการพิสูจน์ตัวเองของแต่ละคนนั้นผ่านเวลามาอย่างยาวนานมาก เพราะ การสอบชิโดชิจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสมาชิกอยู่ในสายดำระดับสี่แล้ว ซึ่งหมายความว่าจากเริ่มฝึกครั้งแรกจนถึงการสอบมีเวลาในการฝึกมานานมาก ในบูจินกันถึงแม้จะให้สายค่อนข้างเร็วเมื่อเทียบกับหลายวิชา เพราะไม่จำกัดเวลาในการครองสายโดยจะขึ้นกับความสามารถไม่ใช่เวลา เพราะ เป็นการฝึกให้ขั้นในแบบสมัยโบราณที่คนมีอายุไม่ยืนกันนักเนื่องจากต้องออกรบแต่ยังหนุ่ม แต่ถึงอย่างงั้นแล้วในระดับที่จะสอบนี้สายดำขั้นที่ห้าอย่างน้อยต้องฝึกมาประมาณแปดถึงเก้าปี … Continue reading
ฟูจิวะระ ฉิคาตะ
เนื่องในโอกาศได้รับตำแหน่งชิโดชิใหม่ของสมาชิกโรงฝึกอาจารย์มาซะอะกิได้มอบชื่อโรงฝึกเป็นภาษาญี่ปุ่นให้กับโรงฝึกทั้งสี่ โดยมีความหมายมาจาก เรื่องของ ฟูจิวาระ ฉิคาตะ ที่มีที่มาจากนิยายปรัมปราของญี่ปุ่นในสมัยเฮอัน โดยตัวเรื่องเริ่มต้นที่ทางใต้ของจังหวัดอิกะ ฟูจิวะระ ฉิคาตะ นำทัพเข้าต่อต้านทัพของพระจักรพรรดิ โดยมีปีศาจ หรือ ยักษ์ (โอนิ) สี่ตนเป็นผู้นำทัพ ได้แก่ 1. คินกิ Kinki ปีศาจทองหรือยักษ์ทอง ที่มีร่างกายคงกระพันสามารถต้านทานอาวุธของทหารได้ทุกอย่าง 2. ฟูกิ Fuuki ปีศาจลมหรือยักษ์ลม ที่ใช้ลมเป็นอาวุธเข้าทำลายปราสาท 3. ซุยกิ Suiki ปีศาจหรือยักษ์น้ำ สามารถควบคุมน้ำเข้าต่อสู้กับทหารได้ 4. องเกียวกิ Ongyoki ปีศาจหรือยักษ์ที่สามารถซ่อนตัวให้ไม่มีคนเห็น จนเข้าทำลายปราสาทของข้าศึกได้ นอกจากนั้นในการเล่าเรื่องบางครั้งยังมีการกล่าวถึงยักษ์อีกสองตนแทนปีศาจน้ำซุยกิ ได้แก่ – โดกิ … Continue reading