-
Recent Posts
- โรงฝึกบูจินกันประเทศไทยย้ายที่ฝึกจากตึกช้างไปที่สโมสรกองทัพบก ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559
- งดฝึก 23 ตุลาคม 2559 และ งดรับสมาชิกใหม่ในวันที่ 30 ตุลาคม 2559
- ภาพจากงานอบรมการป้องกันตัวสำหรับสุภาพสตรีเนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติ 2559
- อบรมศิลปะการป้องกันตัวสำหรับสุภาพสตรี เนื่องในวันแม่แห่งชาติ 2559
- วันอาทิตย์ที่ 31 ก.ค. 2559 งดการเข้าฝึกสำหรับผู้ที่จะมาเข้าฝึกใหม่
Categories
Blogroll
Meta
Author Archives: admin
โรงฝึกบูจินกันประเทศไทยย้ายที่ฝึกจากตึกช้างไปที่สโมสรกองทัพบก ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559
ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2559 โรงฝึกบูจินกันประเทศไทยจะทำการย้ายสถานที่ฝึกไปที่ สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดี (ใช้ห้องเทควันโด) โดยคงเวลาฝึกเดิม คือ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 13.00 – 15.00 น. เนื่องจากต้องใช้แบบแผนเดียวกับการฝึกวิชาอื่น ๆ จึงมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดเก็บค่าฝึก ตามระบบของสโมสรเพื่อเป็นแบบแผนเดียวกันดังนี้ ค่าฝึก 1600 บาท สำหรับการฝึก 8 ครั้ง (ภายในสามเดือน) หรือ 250 บาท / ครั้ง *** ค่าฝึกจ่ายที่ส่วนประชาสัมพันธ์ของสโมสรทหารบก *** *** ยกเลิกการงดเว้นค่าฝึก และ การลดราคาค่าฝึกที่เคยประกาศในอดีต *** … Continue reading
Posted in ข่าวจากโรงฝึก
Leave a comment
งดฝึก 23 ตุลาคม 2559 และ งดรับสมาชิกใหม่ในวันที่ 30 ตุลาคม 2559
ประกาศ สถานที่ฝึกตึกช้าง งดทำการฝึกวันที่ 23 ตุลาคม 2559 และ งดรับสมาชิกใหม่ในวันที่ 30 ตุลาคม 2559
Posted in ข่าวจากโรงฝึก
Leave a comment
ภาพจากงานอบรมการป้องกันตัวสำหรับสุภาพสตรีเนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติ 2559
ภาพจากวันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม 2559
อบรมศิลปะการป้องกันตัวสำหรับสุภาพสตรี เนื่องในวันแม่แห่งชาติ 2559
เนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2559 โรงฝึกบูจินกันประเทศไทยจะจัดอบรมศิลปะการป้องกันตัวสำหรับสุภาพสตรี โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายสำหรับบุคคลทั่วไป เพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ กิจกรรมในครั้งนี้จะทำการฝึกการป้องกันตัวเบื้องต้น รวมทั้งแนวคิดเพื่อการป้องกันตัวแบบต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ชีวิตประจำวันสำหรับสุภาพสตรี โดยใช้ทักษะในรูปแบบของโรงฝึกบูจินกัน การอบรมจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 13 สิงหาคมนี้ เวลา 13.00 น. – 17.00 น. ณ.ห้องฝึกชั้น 2 ตึกช้าง แยกรัชโยธิน กิจกรรมนี้รับจำนวนจำกัดไม่เกิน 30 ท่าน ผู้ที่สนใจเข้าร่วมสามารถลงทะเบียนเข้าอบรมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 0860068745 เท่านั้น และ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ด้วยเบอร์เดียวกัน (ไม่รับลงทะเบียนผ่านอินเตอร์เน็ต หรือ อีเมล์) หากมีผู้ลงทะเบียนเต็มแล้วจะมีการประกาศอีกครั้งหนึ่ง
Posted in ข่าวจากโรงฝึก
Leave a comment
วันอาทิตย์ที่ 31 ก.ค. 2559 งดการเข้าฝึกสำหรับผู้ที่จะมาเข้าฝึกใหม่
ประกาศโรงฝึก สำหรับวันอาทิตย์ที่ 31 ก.ค. 2559 โรงฝึกจะมีสัมมนาพิเศษสำหรับสมาชิกโรงฝึก จึงของดการเข้าฝึกสำหรับผู้ที่จะมาเข้าฝึกครั้งแรกในวันดังกล่าว โดยสามารถเข้าฝึกได้ในสัปดาห์ต่อไป *โรงฝึกเปิดรับผู้เข้าฝึกใหม่ทุกอาทิตย์ที่ไม่มีการประกาศงด
สถานีโทรทัศน์ NHK นำเสนอรายการพิเศษ Living Ninja Legend
เมื่อวันที่ 2 และ 3 ก.ค. 2559 สถานีโทรทัศน์ NHK ได้นำเสนอรายการพิเศษ Living Ninja Legend: Masaaki Hatsumi (ตำนานนินจาที่ยังมีชีวิต) เวปไซต์ http://www3.nhk.or.jp/nhkworld/en/special/201607/02.html โดยมีคำบรรยายโดยคร่าว ๆ ว่า มะซะอะกิ ฮะซึมิ อายุ 84 ปี เป็นนินจาที่ยังมีชีวิตในยุคใหม่ ในฐานะปรมาจารย์ผู้สืบทอดวิชาการต่อสู้ของนินจาสำนักโตกาคุเระที่หลงเหลือผ่านประวัติศาสตร์กว่า 900 ปี จนทำให้ได้รับความสนใจจาก เอฟบีไอ และ หน่วยงานทางทหาร ในฐานะเทคนิคการเอาตัวรอดการจากโจมตีและการเอาชีวิตรอด ลูกศิษย์ของ อ.มาซะอะกิ และ ผู้ที่ฝึกวิชา มีจำนวนมากกว่า 100,000 คนทั่วโลก วิชานินจุสสุของอาจารย์ถึงกับได้มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยในแคลิฟอร์เนียในฐานะวิชาประจำ … Continue reading
บรรยากาศการฝึก 19 มิถุนายน 2559
ภาพถ่ายการฝึก 19 มิถุนายน 2559 โรงฝึก บูจินกัน ประเทศไทย
งดฝึกวันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน 2559 เนื่องในเทศกาลสงกรานต์
ประกาศ โรงฝึกบูจินกันประเทศไทย สถานที่ฝึกตึกช้าง จะไม่มีการฝึกในวันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน 2559 เนื่องจากตึกปิดในวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ ส่วนสัปดาห์หลังจากนั้นมีการฝึกตามปรกติ
วันที่ 10 เมษายน 2559 การสัมมนาพิเศษการใช้มีด
โรงฝึกได้จัดให้มีการสัมมนาพิเศษในเรื่องการใช้มีดสั้นให้กับสมาชิกโรงฝึก ในวันที่ 10 เมษายน 2559
วันที่ 27 มีนาคม 2559 การสัมมนาพิเศษทาเมชิกิริ
ในวันที่ 27 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา โรงฝึกบูจินกัน ประเทศไทยได้จัดสัมมนาในเรื่องของการตัดทาเมชิกิริ การสัมมนาครั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อให้สมาชิกได้มีโอกาสเข้าใจและมีประสบการณ์ในการฝึกทาเมชิกิริที่ถูกต้องกัน โดยการฝึกทาเมชิกิริในแบบที่ฝึกนี้เรียกว่า ชิซัน shizan ที่เป็นการทดสอบเทคนิคการตัด และ ความเข้าใจความสามารถในการใช้ดาบของผู้ฟัน ซึ่งแตกต่างกับอีกแบบที่เป็นการตัดแบบทดสอบดาบที่เรียกว่า ชิโตะ shito