การฝึกที่ประเทศญี่ปุ่น ตอนที่ 2 การสอบ sakki

Sakki Tast คือการสอบขึ้นสายดำขั้น 5 ของบูจินกัน บูโด ไทจุสสึ วิธีการก็คือ จะให้เรานั่งคุกเข่าหลับตา แล้วก็จะมีอาจารย์ระดับขั้น 15 ซึ่งอาจารย์มาซึอะกิจะเป็นคนเลือก มายืนอยู่ด้านหลังของเรา ใช้ดาบไม้ไผ่หุ้มนวมฟันลงมาที่ศีรษะจากด้านหลัง ถ้าหลบดาบนั้นได้ ก็ถือว่าผ่าน ได้รับสายดำขั้น 5 ถ้าใครยินครั้งแรก ก็คงจะคิดเหมือนผมตอนได้ยินอาจารย์เอกเล่าให้ฟังครั้งแรกเหมือนกันว่า

Continue reading »

ประสบการณ์การเดินทาง ไปฝึกที่ญี่ปุ่นครั้งแรกของผม

สำหรับตัวผมแล้ว แม้ว่าจะเคยเดินทางไปต่างประเทศมาบ้าง แต่ครั้งนี้ผมยอมรับว่าผมตื่นเต้นเป็นพิเศษ เพราะสำหรับการเดินทางครั้งนี้ของผมไม่ได้มีจุดประสงค์เพียงเพื่อไปเที่ยว แต่เป็นการเดินทางเพื่อไปฝึกฝนตัวเองและเก็บเกี่ยวประสบการณ์และความรู้ใหม่จากการฝึกศิลปะการต่อสู้ บูจินกัน บูโด ไทจุสสุ ในวันแรกของการฝึกที่ Hombu Dojo (ฮอมบูโดโจ) ซึ่งวันนี้เป็นการสอนของ“อาจารย์ ชิราอิชิ”เมื่อเข้าไปในโรงฝึกผมเห็นชาวต่างชาติมากมาย บางส่วนกำลังเปลี่ยนชุดฝึกบางส่วนเริ่มจับคู่ฝึกซ้อมกันเป็นการยือเส้นยืดสายเพื่อเตรียมรับการสอนจากอาจารย์ แต่สิ่งที่ทำให้ผมประทับใจและคลายความวิตกกังวลคือ ทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใสคำนับและกล่าวทักทายกันอย่างเป็นมิตรไม่ว่าใครจะมาจากประเทศอะไรเมื่อเข้ามาในโรงฝึกก็จะโค้งคำนับทักทายกันทำให้ผมได้รู้จักกับเพื่อนใหม่ 2 คนคือ เคจจากแคนาดาและ

Continue reading »

สรุปการเดินทางเข้าฝึกที่ญี่ปุ่นปี 2015 ตอนที่ 1

สำหรับการเดินทาง ไปฝึกที่ประเทศญี่ปุ่นในปีนี้ เป็นระยะเวลา ประมาณ 7 วัน ในช่วงวันที่ 1-7 มีนาคม ซึ่งมีสมาชิกที่ร่วมเดินทางทั้ง 6 คน โดยในปีนี้มีสมาชิกที่เข้ารับการสอบสายดำระดับ 5 (Sakki Test) จำนวน 4 คน และ

Continue reading »

ธนู และ ลูกดอกนินจา

เรียบเรียงจากหนังสือ “NINJUTSU HISTORY AND TRADITION” ของ อ.มาซาอะกิ ฮะซึมิ ผู้สืบทอดลำดับที่ 34 ของ โตกาคุเระ ริว นินโป (นินจุสสุ) การสงครามในสมัยปัจจุบันการรบที่ทำการยิงจากระยะไกลและไม่ทำให้เกิดเสียงดังโดยการใช้ปืนไรเฟิลใส่อุปกรณ์ลดเสียง หากเทียบกันแล้วการรบของนินจาในสมัยก่อนทำการยิงจากระยะไกล และ ไม่ทำให้เกิดเสียงโดยการใช้ธนู และลูกดอก

Continue reading »

ยุคสมัยของญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีประวัติอันยาวนาน อีกทั้งชื่อเรียกแต่ละยุคก็ยังเป็นภาษาที่คนไทยไม่ค่อยคุ้นเคย ทำให้การอ่านบทความต่างๆ (ถึงแม้จะเป็นบทความภาษาไทย) เป็นไปได้ยาก วันนี้ผมจะได้สรุปช่วงเวลาต่างๆในประเทศญี่ปุ่นมาให้ฟังกัน เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ผมจะนำเอาประวัติศาสตร์ในส่วนต่างๆของโลกนี้มาเทียบเคียงให้ฟังด้วย ยุคโจมอน (Jomon)— 14,000 ก่อนคริสกาล ถึง 300-400 ปีก่อนคริสกาล ยุคโจมอนเป็นยุคหินโบราณ ในขณะนั้น มนุษย์เรายังเป็นนักล่า นักหาของป่า ต่อมามนุษย์เราก็เริ่มทำกสิกรรม

Continue reading »

ประสบการณ์การเดินทางเข้าฝึกที่ประเทศญี่ปุ่น

การเดินทางไปฝึกในครั้งนี้เป็นการเดินทางไปฝึกที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกของผู้เขียน  จุดประสงค์ในการเดินทางครั้งนี้เพื่อเป็นการมาฝึกซ้อมกับเจ้าสำนักโรงฝึกบูจินกัน บูโด ไทจัสสุ อ.มาซาอะกิ ฮะทสึมิ (Soke Masaaki Hatsumi) และอ.ชิราอิชิ อิซามุ(shiraishi Isamu sansei) ซึ่งเป็นอาจารย์สายหลักที่โรงฝึกบูจินกัน ประเทศไทย (Bujinkan Thailand) นำมาเป็นแนวทางในการฝึกสอน  การเดินทางมาฝึกครั้งนี้มีโอกาสได้เข้าฝึกกับ อ.มาซาอะกิ 

Continue reading »

ความคาดหวังในการฝึก

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผู้เขียน มีผู้ที่เข้ามาฝึกหลายคน เข้ามาฝึกพร้อมกับคาดหวังผลของการฝึกไว้สุงมาก คิดว่าถ้าเข้ามาฝึกบูจินกันแล้ว จะสามารถเก่งได้ทันทีโดยใช้เวลาไม่นาน เพราะมั่นใจในความสามารถของตัวเองว่ามีไม่น้อยกว่าใครๆ ในความเป็นจริงแล้ว บูจินกันเป็นวิชาศิลปะต่อสู้ที่ต้องใช้เวลาในการฝึกต่อเนื่อง สม่ำเสมอเป็นเวลานาน กว่าที่จะเข้าใจถึงหลักการและเทคนิคต่างๆ และความเข้าใจที่เกิดขึ้นนั้น ก็อาจจะเปลี่ยนไปตามระดับความสามารถของผู้ฝึกอีกด้วย เช่น ในการฝึกเทคนิคพื้นฐานง่ายๆ ขณะที่เราเข้ามาฝึกใหม่ๆ เราก็มักจะคิดว่าเราเข้าใจเทคนิคนั้นแล้ว เราสามารถทำตามที่อาจารย์สอนได้แล้ว เพราะเราสามารถทำได้เหมือนกับที่อาจารย์แสดงให้ดูทุกอย่าง แต่พอเราฝึกไปนานๆ ประสบการณ์ในการฝึกมากขึ้น

Continue reading »

เป้าหมาย- สิ่งที่ควรมีเมื่อเข้ารับการฝึก

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ ได้พบเห็นคนที่สนใจเข้ารับการฝึกเป็นจำนวนมาก แต่จนถึง ณ ปัจจุบัน จำนวนผู้ที่ยังคงเข้ารับการฝึกอยู่นั้นกลับยังมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนโดยรวม “หลายคนเข้ารับการฝึกเพียงไม่กี่ครั้ง” “หลายคนเข้ารับการฝึกนานพอสมควร นานพอที่จะทราบได้ว่าเป็นวิชาที่ตนชอบหรือไม่” “หลายคนเข้ารับการฝึกจนได้สายดำก็มี” ที่กล่าวมานี้ทุกคนมีโอกาสเลิกฝึกเท่ากันหมด นั้นเป็นเพราะแต่ละคนขาดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย หลายคนเมื่อเริ่มต้นเข้ารับการฝึกอาจจะไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแต่หากเริ่มต้นฝึกแล้วนั้น ทุกคนควรมีเป้าหมาย มีหลายคนที่เข้ารับการฝึกจนได้ระดับสายดำแล้วเลิกฝึกไปเพราะขาดเป้าหมายยิ่งเป็นที่น่าเสียดายอย่างมากกับเวลาที่เราได้รับการฝึกไป หากเปรียบเทียบกับบริษัทก็คงเสียงบประมาณในการอบรมไปพอสมควร สำหรับการวางเป้าหมายสำหรับการเข้ารับการฝึกนั้น ง่าย ๆ โดยเฉพาะเข้ารับการฝึกกับโรงฝึกบูจินกันประเทศไทย

Continue reading »

Training Trip in japan – ความเข้าใจที่ถูกต้อง

เล่าเรื่องต่อจาก ตอนที่1 ในบล๊อค http://start-practice.blogspot.jp/ เริ่มต้นบทความนี้ด้วยการไปฝึกที่ ญี่ปุ่นนั้นไม่สบายอย่างที่คิด สามารถพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า เหนื่อย ก่อนหน้านี้เคยคิดว่าการที่ อาจารย์ไปเข้ารับการฝึกนั้นสบาย แต่จากที่ได้ไปปรากฏว่าผิดคาด ตัวอย่างเช่นการเดินทางไปฝึกที่ Kashiwa ถ้าจำไม่ผิดนั่งรถไฟไปใช้เวลาเกือบชั่วโมง แล้วยังต้องเดินต่อเพื่อเข้าไปที่สถานะที่ฝึกอีกเกือบชั่วโมง ดังนั้นความคิดเปลี่ยนทันทีว่า กว่าอาจารย์จะได้รับสายดำระดับสูงขนาดนี้ ต้องเดินทางเท่าไหร่ไม่ใช่สบายอย่างที่คิด นี้คือความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างแรก สิ่งต่อไปที่อยากจะแชร์คือ การฝึกวันแรกที่โรงฝึกใหญ่

Continue reading »

ความรู้เกี่ยวกับคะมิดะนะ

“ชิคิน ฮะระมิสึ ไดโกะเมียว” คำกล่าวที่เราได้ยินทุกครั้งก่อนและหลังฝึกโดยปกติแล้วก่อนทำการฝึกและหลังการฝึกสิ่งหนึ่งที่เราทำอย่างสม่ำเสมอคือการเคารพคะมิดะนะ ถึงแม้การเคารพคะมิดะนะอาจจะไม่ใช่หัวใจสำคัญของการฝึก แต่ก็ถือเป็นการแสดงความเคารพต่ออาจารย์ และเป็นการเรียนรู้วัฒนธรรม ดังนั้นสิ่งเหล่านี้เราจึงควรปฏิบัติให้ถูกต้อง “คะมิดะนะ” ถ้าดูความหมายตามคำศัพท์หมายถึง หิ้งบูชาเทพเจ้า (คะมิ=เทพเจ้า, ดะนะ=หิ้ง) โดยทั่วไปคะมิดะนะเป็นแท่นบูชาขนาดเล็กที่ใช้ในบ้านเรือน มักพบในโรงฝึกศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่น ใช้เป็นที่ประดิษฐานของเทพเจ้าตามความเชื่อแบบของชินโต ที่เชื่อว่าทุกสิ่งมีเทพเจ้าสิงสถิตอยู่ โดยเทพเจ้าที่อันเชิญมาประดิษฐานก็จะเป็นเทพเจ้าที่ส่งผลเกื้อหนุนในกิจการที่ทำอยู่ ปกติคะมิดะนะจะติดตั้งไว้บนผนังตำแหน่งที่สูงกว่าระดับสายตา โดยเลือกพื้นที่ที่สะอาด

Continue reading »